วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

การเลืกซื้อผัก

วันอังคาร, ธันวาคม 15, 2009
การเลืกซื้อผัก

การเลือกซื้อผักพิจารณาจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่เลือกซื้อตามฤดูกาล
การเลือกซื้อผักที่เป็นหัว มีดังนี้เผือก มัน เลือกที่มีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ผิวเรียบผักกาดหัว เลือกหัวอ่อน ๆ ผิวเรียบไม่งอกะหล่ำปลี เลือก หัวแน่น ๆ และมีน้ำหนักมากหอมใหญ่ เลือกหัวแน่น ๆ เปลือกแข็ง
การเลือกซื้อผักที่เป็นฝักถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพลู ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อน ๆ สีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน มี เมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน อันตรง ๆ ไม่คดงอ
การเลือกซื้อผักที่เป็นใบผักกาดหอม ผักกาดขาว ผักบุ้ง ฯลฯ เลือกที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ และมีหนอน ต้นใหญ่อวบ ใบแน่นติดกับโคนการเลือกซื้อผักที่เป็นผลมะเขือเปาะ เลือกที่ขั้วติดแน่น สด มีน้ำหนักมาก ไม่เหี่ยวแตงกวา แตงร้าน ลูกที่มีน้ำหนักสีเขียวอ่อน ลูกยาว ผิวนวล ไม่มีรอยช้ำมะนาวเลือกผิวบางเรียบ ไม่เหี่ยว - ฟักทอง ผลหนัก แน่น เนื้อเหลืองอมเขียว ผิวเปลือกแข็งขรุขระ เครดิต:http://pirun.ku.ac.th/~b4913113/page4_1.htm

การป้องกันโรคไข้หวัด 2009

วันอังคาร, ธันวาคม 15, 2009
การป้องกันโรคไข้หวัด 2009

คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
2. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
3. ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานาน โดยไม่จำเป็น
6. ติดตามคำแนะนำอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิดคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่
เครดิตต: http://www.thaihealth.or.th/node/9523

วิธีเลี้ยงหนูแฮมเตอร์

วันอังคาร, ธันวาคม 15, 2009
วิธีเลี้ยงหนูแฮมเตอร์

วิธีการเลี้ยงหนูแฮมเตอร์
อาหารหลักที่ควรให้แฮมสเตอร์ คือ ธัญพืชโดยจะโปรยอาหารลงบนพื้นก็ได้เพราะแฮมสเตอร์ไม่มีนิสัยชอบก้มกิน มันจะชอบหยิบอหารออกมากินนอกภาชนะมากกว่า โดยใช้เท้าหน้าจับอาหารกิน แต่การใช้ภาชนะมีข้อดี คือจะทำให้เราได้รู้ว่ามันเอาอาหารออกไปกิน มากน้อยแค่ไหน ถ้ามันป่วยเราก็รู้ได้ นอกจากนี้ การใส่ภาชนะยังทำให้อาหารและขี้เลื่อยไม่ปะปนกันทำให้การเปลื่ยนขี้เลื่อยทำได้ง่ายโยไม่ต้องทิ้งอาหารที่ปนกับขี้เลื่อย สิ่งที่ควรทราบในการให้อาหารแฮมสเตอร์1. อย่าให้ผักสด หรือผลไม้สดบ่อยๆหรือมากเกินไป การให้ผักสดควรให้แค่สัปดาห์ละครั้งเพราะอาจจะทำให้แฮมสเตอร์ท้องอืด หรือท้องเสียได้และหากมันกินไม่หมดควรจะเก็บทิ้งทันที2. พยายามอย่าเปลื่ยนอาหารแบบทันทีทันใด ควรจะค่อยๆ เปลื่ยนอาหารโดยเอาอาหารเก่า ผสมกับอาหารใหม่ และเพิ่มอัตราส่วนอาหารใหม่ให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนแทนที่อาหารเก่าในที่สุด อย่าเปลื่ยนแบบฉับพลัน 3. อาหารที่ควรหลีกเลื่ยงช็อคโกแลต โดยเฉพาะ Dark Chocolate เพราะมีสาร Theobromine ซึ่งเป็นพิษต่อแฮมสเตอร์ได้4. หลีกเลื่ยงผักผลไม้ ที่มีรสเปรี้ยวๆ เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด เป็นต้น5. เราอาจจะเสริมโปรตีนให้กับแฮมสเตอร์ได้ โดยการให้อาหารเม็ดของแมวหรืออาหารสุนัขที่เป็น บิสกิต ใส่ลงไปได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งช่วยเสริมโปรตีนและยังช่วยลับฟันแฮมสเตอร์ไม่ให้ยาวเกินไปอีกด้วย
เครดิต: http://www.oknation.net/blog/HAMTER2009/2009/06/25/entry-2

การปลูกต้นไม้หอม

วันพุธ, ธันวาคม 16, 2009
การปลูกต้นไม้หอม

การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะ ควรจะพิจารณาถึง การหยั่งรากตื้น ของพืชผัก พืชผักที่หยั่งรากตื้น และสามารถ ปลูกลงภาชนะ ปลูกชนิดต่าง ๆ และชนิดห้อยแขวนได้ดี และมีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร ดังต่อไปนี้คือ
- ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องแต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
- วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวน อาจใช้กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะ


วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

1. เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก

- ผักบุ้งจีน - คะน้าจีน - ผักกาดขาวกวางตุ้ง

- ผักกาดเขียวกวางตุ้ง - ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน)

- ตั้งโอ๋ - ปวยเล้ง - ผักกาดหอม

- ผักโขมจีน - ผักชี - ขึ้นฉ่าย

- โหระพา - กระเทียมใบ - กุยฉ่าย

- หัวผักกาดแดง - กะเพรา - แมงลัก

- ผักชีฝรั่ง - หอมหัวใหญ่

2. ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว

- หอมแบ่ง (หัว) - ผักชีฝรั่ง - กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก)

- หอมแดง (หัว) - บัวบก (ไหล) - ตะไคร้ (ต้น)

- สะระแหน่ (ยอด) - ชะพลู (ต้น) - โหระพา (กิ่งอ่อน)

- กุยช่าย (หัว) - กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)

- แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน)

** มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้หรือปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2

http://www.vegetweb.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD/

ปลูกกล้วยไม้เพื่อธุรกิจกันเถอะ

วันพุธ, ธันวาคม 16, 2009
ปลูกกล้วยไม้พื่อธุรกิจกันเถอะ

อุตสาหกรรมกล้วยไม้ของประเทศได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก และทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอับดับหนึ่งในจำนวนไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมดที่มีการส่งออก ซึ่งการส่งออกดอกกล้วยไม้ และต้นกล้วยไม้มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยตลอด ในปี 2535 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์รายงานปริมาณการส่งดอกกล้วยไม้ 11,142 ตัน เป็นมูลค่า 701.3 ล้านบาท และส่งออกต้นกล้วยไม้ปริมาณ 939 ตัน มูลค่า 86.5 ล้านบาท
สำหรับพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2530-31 จนถึงปัจจุบันค่อนข้างคงที่โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 12,000 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครปฐม, สมุทรสาคร, ราชบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะกับการเจริญเติบโตของกล้ว ยไม้ ใกล้แหล่งน้ำ ตลาด และมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก และปัจจุบันพื้นที่ปลูกกล้วยไม้มีแนวโน้มที่จะย้ายจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดใกล้เคียงมากขึ้น เนื่องจาก ที่ดินมีราคาสูงและมีปัญหามลภาวะของน้ำและอากาศ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของกล้วยไม้

http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=44

ปลาดุกอุย

วันพุธ, ธันวาคม 16, 2009
ปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย ( Clarias macrocephalus ) เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มี เกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 เส้น ที่ริมฝีปาก ผิวหนังมีสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวลสามารถนำมาปรุงแต่งเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้มากมาย ในประเทศ ไทยมีพันธุ์ปลาดุกอยู่จำนวน 5 ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่ว ๆไปคือ ปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ( Clarias batrachus ) ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย

เมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน ประเทศไทย ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดำเนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ

จากการศึกษาทางลักษณะรูปร่างและชีววิทยาของปลาดุกเทศทางกลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ปลาโดยนำมาผสมพันธุ์กับปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ ผลปรากฏว่าการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียผสมกับปลาดุกเทศเพศผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดี ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงทำให้เกษตรกรนำวิธีการผสมข้ามพันธุ์ไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งลูกหลานที่เกิดจากคู่ผสมนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่โดยทั่ว ๆไปชาวบ้านเรียกกันว่า บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ ส่วนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศผู้กับปลาดุกเทศเพศเมีย ลูกที่ได้ไม่แข็งแรงและเหลือรอดน้อย เมื่อเทียบกับการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาบิ๊กอุย ส่วน การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกด้านกับปลาดุกเทศ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าปลาดุกลูกผสมอุย-เทศหรือบิ๊กอุยนั้นเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเป็นที่นิคมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก


http://www.doae.go.th/library/html/detail/dook/menu.htm

การเลี้ยงปลาทอง

วันพุธ, ธันวาคม 16, 2009

การเลี้ยงปลาทอง

1.ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดมีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ที่เป็นราชาแห่งปลาทองได้แก่ปลาทองพันธุ์หัวสิงโต
2.ชาติแรกที่ทำการเลี้ยงปลาทองและเพาะผสมพันธุ์ ได้แก่ชาวจีนประมาณปี 1161-1550 ในหมู่ของขุนนางและในราชสำนัก
3.การเลี้ยงปลาทองดังกล่าวเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง มีสีสดใสต้องคำนึงถึงสถานที่เลี้ยงและภาชนะ ที่ยอมรับโดยทั่วไปก็จะเป็นอ่างซีเมนต์และตู้กระจกสี่เหลี่ยม ควรเลือกตู้กระจกที่ที่มีขนาดบรรจุน้ำจำนวน 40 ลิตรเป็นอย่างน้อย โดยใช้เลี้ยงปลาขนาดกลางจะได้ประมาณ 12 ตัวเพื่อให้มีที่ว่างมากพอเพื่อตกแต่งให้เป็นธรรมชาติและติดตั้งปั๊มอากาศ อื่นๆอีกตามต้องการ
4.การเลี้ยงปลาทองในบ่อหรืออ่างนอกบ้าน
การเพาะเลี้ยงปลาทองแบบนี้ต้องคำนึงถึงแสงสว่าง ไม่เป็นที่อับแสง หากแสงมากเกินไป
ควรใช้ตาข่ายกรองแสงประมาณ 60% ปิดปากบ่อ
บ่อไม่ควรอยู่ใกล้แหล่งสารเคมีที่มีพิษ
บ่อไม่ควรอยู่ตรงชายคาน้ำตก ควรระวังศัตรูปลา เช่นแมว นก
บ่อเลี้ยงควรสร้างให้ลาดเอียง เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำออกให้หมด

5.การให้อาหารปลาทอง
อาหารสำเร็จรูป ควรให้อาหารวันละ 1 – 2 ครั้ง
อาหารเสริม
อาหารธรรมชาติ เช่นลูกน้ำ หนอนแดง ฯลฯ
ดูรูปทรงและความสมดุล

การดูรูปทรงความสมดุลของปลา ต้องดูถึงลักษณะรูปร่างและส่วนประกอบใน
สรีระต่างๆของปลา ซึ่งเมื่อมองจากทางด้านบนในขณะที่ปลา่กำลังว่ายน้ำให้เริ่ม
พิจารณาโดยรวมอีดครั้งว่าปลามีลักษระการว่ายน้ำสมดุลดีหรือไม่

ความอ้วนและความแข็งแรงของตัวปลา

จะต้องมองที่ความกว้างของลำตัวและจะต้องสังเกตโคนหางร่วมกันไปด้วยว่า
ลักษณะตัวปลาที่ตัวใหญ่หรืออ้วนก็จะต้องมีโคนหางที่ใหญ่แข็งแรงสมดุลกับ
ตัวปลาซึ่งเมื่อมองจากมุมด้านบนต้องสังเกตจากความกว้างของลำตัว
ซึ่งจะต้องมีความอ้วนหนา บึกบึนได้รูปและมีโคนหางที่ใหญ่แข็งแรง

การเรียงแถวของเกล็ดอละความสวยงามขิงสีสันลวดลาย
การเรียงแถวของเกล็ดนั้นควรมีลักษณะการเรียงเป็นแนวเดียวกันไม่
กระจัดกระจายออกจากแถวเมื่อมองดูแล้วมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเนียนตา
ในส่วนของสีสันบนตัวปลาจะเป็นสีที่สดเข้มมองดูแล้วสะดุดตาไม่ว่าจะเป็นสีแดง
หรือสีขาวในส่วนของลวดลายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของมุมมองส่วนตัว
ซึ่งจะต้องใช้ศิลปะและประสบการณ์เข้ามาประกอบด้วยส่วนหนึ่ง

ปลาที่มีสง่าราศี

จะต้องใช้ประสบการณ์และชำนาญซึ่งเกิดจากการดูและสัมผัสปลามาพอสมควร
จึงจะบอกได้ว่าปลาตัวใดมีลักษณะเด่นหรือดูมีสง่างามกว่าอีกตัว กล่าวคือ
เป็นเรื่องนามธรรม ซึ่งการดูจะอาศัยการมองถึงลักษณะโดยรวมของปลาทั้งส่วนหัว
ลำตัวและหาง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการประกวดปลาบางตัวอาจจะมีครีบหางที่ไม่สวย
หรือครีบคดบางตัวสีไม่สดเหมือนอีกตัว แต่ยังได้อันดับดีกว่า ซึ่งทางกรรมการก็อาศัย
เกณฑ์การมองภาพรวมเช่นเดียวกัน

การว่ายน้ำของปลา
มีการเปรียบเปรยกันว่า" ปลาทองนั้นมีลีลาในการแหวกว่ายน้ำพลิ้วไหว
ดั่งชายกิโมโนของสาวญี่ปุ่นยามโบกสะบัด" ซึ่งหมายความว่า ในส่วนของ
ช่วงโคนหางหรืแที่เรียกว่าสะโพกของปลาในตอนที่ว่ายนั้นดูสวยงาม ดูปราดเปรียวและมีชีวิตชีวา

http://www.samud.com/aquarium/GoldenFish/goldenfishtakecareindex.asp

การเพราะเลี้ยงปลากัด

การเพราะเลี้ยงปลากัด

ปลากัด มีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish เป็นปลาสวยงามที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมานานแล้ว เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่นอกจากจะมีสีสันสดเข้มสวยงามสะดุดตามากแล้ว ยังเป็นปลาที่จัดว่าเป็นยอดนักสู้ตัวฉกาจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะปลากัดที่ไปจากประเทศไทยจัดว่าเป็นปลาที่กัดเก่งและมีความทรหดมากที่สุด ทำให้ได้รับความนิยมจากประเทศต่างๆทั่วโลก ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงปลากัดมานานแล้ว และได้เน้นเป็นการเลี้ยงเพื่อเกมกีฬาโดยเฉพาะมีการจัดตั้งเป็นบ่อนการพนัน ทางราชการจะมีการอนุญาตให้เปิดสถานที่สำหรับเดิมพันการกัดปลา เรียก บ่อนปลากัด หรือ บ่อนกัดปลา มาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
การเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามมักนิยมเลี้ยงในขวดหรือโหลขนาดเล็ก ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น เพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขตและมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน ซึ่งในช่วงนี้ปลาจะมีสีสดเข้มสวยงาม แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ปลาจะตื่นตกใจ เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้ ในช่วงนี้ปลาก็จะสีซีดดูไม่สวยงาม จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม จัดว่าเป็นปลาที่ติดตลาด ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ สามารถจำหน่ายได้ดีตลอดปี โดยเฉพาะเด็กจะชอบหาซื้อปลากัดไปเลี้ยง เพื่อนำไปกัดแข่งขันกัน แล้วก็หาซื้อปลาตัวใหม่อยู่เสมอ

http://home.kku.ac.th/pracha/Betta.htm

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]

เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87