วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์ชาติไทย

ประวัติศาสตร์ชาติไทย

๑ ปฐมบรมกษัตริย์ .....“เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาที่ตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชน.. ตัวชื่อมาสเมืองพ่าย ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เมื่อกู พุ่งช้างขุนสามชน ” ข้อความในหลักศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ กล่าวถึงการชนช้างกับข้าศึกครั้งแรก ของพ่อขุนรามคำแหงขณะมีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ทรงร่วมเดินทางไปรบกับ พระบิดา( ขุนศรีอินทราทิตย์) ในการทำศึกกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อ.แม่สอด จ.ตาก)และได้ชัยชนะ พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง ซึ่งเป็น ปฐมบรมกษัตริย์ของไทย ทรงประดิษฐอักษรลายสือไทย และจัดให้มีการปกครอง แบบพ่อปกครองลูก ตลอดระยะเวลาที่พ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์อยู่ ๔๐ ปี อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด



๒ กบฏแผ่นดิน ..... “ ครั้นสมเด็จพระบรมราชาหน่อ พุทธางกูร สิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้ทรพิษ พระรัฏฐาธิราชกุมารพระโอรส วัย ๕ พรรษา อันประสูติจากพระอัครชายาวัย ๑๗ พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทนพระไชยราชาผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ระหว่างนั้นปีพศ.๒๐๗๓ บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริตคือพระยายมราชบิดาของอัครชายา พระไชยราชาจึงให้สำเร็จโทษพระรัฏฐาธิราชตามราชประเพณีโบราณ และขึ้นครองราชย์แทน ออกรบปราบปรามหัวเมืองอยู่ตลอดจึงทรงแต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้น เป็นพระอุปราชว่าราชการแทนพระองค์ที่กรุง อโยธยา

ต่อมาพระมเหสีของพระไชยราชา คือท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์แบบชู้สาวกับขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ สมคบลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า โอรสพระไชยราชา จึงได้ขึ้นครองราชย์แทนขณะที่มีพระชนม์ ๑๐ พรรษา แต่ต่อมาก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนา ขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ขุน วรวงศา

ระหว่างนั้นพระเฑียรราชาได้ทรงผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยทัยครองพระองค์อยู่ในวัง โดยมีขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเส่หานอกราชการ หลวงศรียศ คุ้มกันภัยให้ และต่อมาก็ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ (ขึ้นมามีอำนาจเหนือราชบัลลังก์อยุธยา เป็นเวลา ๑ ปี ๒ เดือน กับอีก ๔๒ วัน )เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชาให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่าพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑

ในปี ๒๐๙๑ นี่เอง ที่ทางพม่านำโดยกษัตริย์นามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายภายใน จึงฉวย โอกาสช่วงนี้คิดจะเข้าตี ได้จัดทัพทหาร ๓ หมื่น ช้างศึก ๓ ร้อย ม้าศึก ๒ พันตัว ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เข้าเมืองกาญจนบุรี จับกรมการเมืองมาสอบ ถามจึงทราบว่าหลังจากพระมหาจักรพรรดิได้ขึ้นครองราชย์บ้านเมืองก็สงบดี แต่ พระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพมาแล้วจะถอยกลับก็กะไรอยู่ จึงขอเข้าไปชานเมืองเพื่อ ให้ชาวอยุธยาได้เกรงขาม เดินทางเข้าป่าโมกแล้วตั้งค่ายหลวงที่ทุ่งลุมพลีอยู่ ๓ วัน จากนั้นจึงยกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี ”

๓ พระมหาวีรกษัตรีศรีสุริโยทัย ........เมื่อปีพศ.๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบ้านโผงผาง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงยกกองทัพออกไปตรวจดูข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทอง ทรงเครื่องอลังการยุทธและได้ เสด็จทรงช้างต้นพลายแก้วจักรพรรดิเป็นพระคชาธาร มีพระสุริโยทัยเอกอัครมเหสี เสด็จมาด้วย ทรงใส่ชุดพระมหาอุปราชเสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์เป็นพระ คชาธาร ส่วนพระโอรส(พระราเมศวรและพระมหินทราธิราช)ได้ทรงช้างต้นพลาย มงคลจักรพาฬและช้างต้นพลายพิมานจักรพรรดิตามลำดับ ทางฝ่ายพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ทรงช้างพลายมงคลทวีป และพระเจ้าแปรทรงได้ ทรงช้างพลายเทวนาคพินาย(อนึ่ง ช้างของพม่ามีความสูงกว่าของไทยประมาณ ๑ คืบเจ็ดนิ้ว) รายละเอียดในการรบ จะขอนำข้อความจากพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตเลขา ดังนี้ “ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ได้ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกับกองหน้า พระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึก พระเจ้าแปรได้ทีจึงขับพระคชาธา ตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ พระสุริโยทัยเห็นว่าพระราชสามีไม่พ้นมือข้าศึกแน่ๆ แล้ว ด้วยทรงพระกตัญญูภาพจึงทรงขับพระคชาธารพลายทรงสุริยกษัตริย์เข้าออก รับ แต่พระคชาธารพระสุริโยทัยเสียทีข้าศึก พระเจ้าแปรจึงฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระอังสกพระสุริโยทัยขาดจนถึงราวพระถันประเทศสิ้นพระชนม์บนคอช้าง .... พระโอรสทั้ง ๒ พระองค์จึงขับพระคชาธารเข้าไปกันพระศพสมเด็จพระมารดาเข้า พระนคร ” ทรงทำยุทธหัตถี ณ.สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ในวันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก พศ.๒๐๙๑
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้เชิญพระศพพระสุริโยทัย ไปประดิษฐานยังสวนหลวง หลังจากนั้นจึงทรงพระราชทานเพลิงศพ แล้วสร้างพระอารามตรงพระเมรุ โดยมีเจดีย์ใหญ่เรียกว่า ‘ วัดหลวงสบสวรรค์ ’ การศึกครั้งนั้นพม่ายังไม่สามารถจะตีไทยได้ และพระมหาจักรพรรดิทรงรับสั่งให้ พระมหาธรรมราชายกทัพของหัวเมืองทางเหนือลงมาตีทัพพม่าโดยด่วน ทัพพม่าจะ หนีไปทางด่านแม่ละเมา กองทัพไทยก็ไล่ตามมาติดๆเข้าตีพม่าล้มตายจำนวนมาก เกือบจะทันทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดีที่เมืองกำแพงเพชร ด้วยเลห์กลพม่าจึงได้ ซุ่มทหารไว้สองข้างทางดักรออยู่ พอกองทัพไทยผ่านเข้าไปจึงถูกล้อมจับตัวพระมหา ธรรมราชาและพระราเมศวรได้ ทางพระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมสงบศึกเพื่อนำทั้ง สองพระองค์กลับมาโดยแลกกับช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคงทวีป กองทัพพม่าจึงหนีกลับไปได้

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ประดิษฐานอยู่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ห่างจากวัดภูเขาทองไปทางทิศเหนือ ( สวนนก ) จ.พระนครศรีอยุธยา

..........


๔ สงครามช้างเผือก .....“ เมื่อปีพศ.๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีได้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ เพื่อจะทูลขอช้างเผือก ๒ ช้าง(เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีช้าง เผือกอยู่ ๗ ช้าง) นับว่าเป็นกลอุบายเพื่อจะหาเรื่องยกทัพมาตีไทย ขุนศึกและ เสนาบดีจึงแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเห็นด้วยที่จะประทานช้างเผือก ๒ ช้าง เพื่อป้องกันการเกิดศึกสงครามเพราะว่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองมีความชำนาญ การศึกมาก ฝ่ายที่สองไม่เห็นด้วยที่จะประทานช้างเผือก(มีพระราเมศวร พระยา จักรี พระสุนทรสงคราม) เพราะจะเป็นการอ่อนข้อให้ ในวันข้างหน้าพระเจ้าหงสา วดีจะต้องเอาไทยเป็นเมืองขึ้น สรุปก็คือให้หรือไม่ให้ก็จะตี
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงมีพระราชดำริไม่ประทานช้างเผือก แล้วมีพระราชสาสน์ตอบกลับไปดังนี้ “ช้างเผือกย่อมเกิดสำหรับบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีได้บำเพ็ญธรรมให้ไพบูรณ์คงจะได้ช้างเผือกมาสู่บารมีเป็นมั่นคงอย่าได้ทรงวิตกเลย” และรับสั่งให้เตรียมไพร่พลพร้อมรบอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพรวมพลที่เมืองเมาะตะมะ จัดทัพใหญ่ออก เป็น ๕ ทัพ มีเจ้าเมืองเชียงใหม่ควบคุมกองเรือเสบียง ล่องลงมาถึงเมืองตาก รวมไพล่พลเป็นจำนวนประมาณ ๕ แสนคน ส่วนทางอยุธยาได้เตรียมพลพร้อมรบและเรือรบจำนวนมาก เพื่อป้องกันการ โจมตีจากทัพหลวงของหงสาวดีทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่ผิดคาดพม่ายกทัพ มาทางด่านแม่ละเมาเข้าตีกำแพงเพชรได้เมืองแล้วแยกทัพไปตีสุโขทัย เนื่องด้วยทางสุโขทัยมีกำลังน้อยกว่ามากแต่ก็สู้รบเป็นสามารถในที่สุดก็ถูกยึดเมือง จากนั้นพม่าจึงล้อมเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาก็ต่อสู้เป็นสามารถเช่นกัน แต่เกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองและเสบียงอาหารก็หมดจึงยอมจำนน หลังจากที่พม่าได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้วจึงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่า พร้อมทั้งสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีฯด้วย
กองทัพพม่ายกมาประชิดเขตเมืองใก้ลทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก เรือ ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู่ไม่ได้จึงถอย ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี(ทุ่งลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา(ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังมากการที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัย คงจะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลากพม่าคงจะถอยไปเอง แต่พม่าได้เตรียมเรือรบ และปืนใหญ่มาจำนวนมากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามา ในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายมาก ทางพระเจ้าหงสา วดีจึงมีสาสน์มาว่า จะรบต่อไปหรือยอมเป็นไมตรี เนื่องด้วยทางไทยเสียเปรียบมาก พระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมเป็นไมตรี ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียช้างเผือกจาก ๒ ช้าง เป็น ๔ ช้าง และทุกปีต้องส่งช้างให้ ๓๐ เชือก พร้อมเงิน ๓๐๐ ชั่ง จับตัวพระยาจักรี ไปเป็นตัวประกัน นอกจากนี้ยังจะขอเก็บภาษีอากรจากเมืองมะริดที่ขึ้นกับไทยอีกด้วย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระชมมายุได้ ๙ พรรษาถูกนำเสด็จไปประทับที่กรุง หงสาวดีเพื่อเป็นองค์ประกันด้วย
๕ เสียกรุงครั้งแรก .....“ ปีพศ. ๒๑๑๒ ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าผู้รุกรานยังพยายามจะ ตีไทยให้ได้ จากพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ถึงแม้บุเรงนองจะเก่งในการศึกแต่ไม่ เคยรบชนะไทยด้วยการนำทหารเข้าประจันบานเลย แต่จะใช้เล่ห์เหลี่ยมและอุบาย ต่างๆเข้าช่วยเสมอ จึงใช้วิธีทำให้ไทยแตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย โดยพม่ายกพระมหา ธรรมราชาให้เป็นใหญ่ทางเหนือ หลังจากพระมหาจักรพรรดิทรงเสด็จออกผนวช พระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์และทรงคิดกำจัดพระมหาธรรมราชา จึงส่งสาสน์ ไปถึงพระไชยเชษฐาผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุตให้ยกทัพมาตีพิษณุโลก ทางพระ มหาธรรมราชาจึงขอทหารจากเมืองหงสาวดีและกรุงศรีฯขึ้นมาช่วยป้องกันเมือง พระมหินทร์ฯทรงแกล้งส่งพระยาสีหราชเดโชยกทัพไปช่วย แท้จริงแล้วให้ร่วมกับ ทัพพระไชยเชษฐาตีพิษณุโลก แต่ว่าพระยาสีหราชเดโชแปรพักไปเข้ากับพระมหา ธรรมราชาแล้วทูลความจริงให้ทราบ พระมหาธรรมราชาจึงรับสั่งป้องกันเมืองไว้ ประจวบเหมาะกองทัพหงสาวดียกมาช่วยทัน กองทัพพระไชยเชษฐาจึงถอยกลับ เวียงจันทร์ เมื่อเหตุการณ์เริ่มบานปลายพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวช แล้วเสด็จขึ้นครอง ราชย์อีกครั้ง ทรงยกทัพขึ้นมาเมืองพิษณุโลก รับพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาของพระมหาธรรมราชา(ขณะนั้นอยู่กรุงหงสาวดี) ลงมาเป็นองค์ประกันอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยา
ทางพระมหาธรรมราชาเมื่อทราบว่าพระอัครชายาและโอรสธิดาถูกจับเป็นองค์ ประกันก็ทรงวิตกยิ่งนัก แล้วรีบส่งสาสน์ไปยังพระเจ้าหงสาวดีให้ยกทัพมาตีกรุง ศรีอยุธยารวมทั้งหมด ๗ ทัพ มีกำลังพลร่วม ๕ แสนคน ยกทัพมาทางด่านแม่ ละเมาเข้าเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเมื่อทราบว่าหัวเมืองทางเหนือเป็นของพม่าแล้ว จึงเตรียมรบ อยู่ที่พระนคร นำปืนนารายณ์สังหารยิงไปยังกองทัพพระเจ้าหงสาวดีที่ตั้งอยู่บริ เวณทุ่งลุมพลี ถูกทหาร ช้าง ม้าล้มตายจำนวนมาก พม่าจึงถอยทัพมาตั้งที่บ้าน พราหมณ์ให้พ้นทางปืน แล้วพระเจ้าหงสาวดีจึงเรียกประชุมการศึก พระมหา อุปราชเห็นสมควรให้ยกทัพเข้าตีไทยทุกด้านเพราะมีกำลังมากกว่า แต่พระเจ้า หงสาวดีไม่เห็นด้วยเพราะกรุงศรีอยุธยามีทำเลดีมีน้ำล้อมรอบ จึงสั่งให้ตีเฉพาะ ด้านตะวันออกเพราะคูเมืองแคบที่สุด พม่าพยายามจะทำสะพานข้ามคูเมืองแต่ ถูกทหารไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ( ศพแล้วศพเล่าที่นำดินมาถมสะพาน )
ระหว่างการสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงประชวรและสวรรคตในเวลา ต่อมา พระเจ้าหงสาวดีได้โอกาสจึงสั่งให้ทหารเข้ามาตีพระนครด้านตะวันออก พร้อมๆกัน ฝ่ายไทยมีพระมหาเทพนายกองรักษาด่านอย่างเต็มสามารถ ทำให้ พม่าล้มตายจำนวนมากจึงถอยข้ามคูกลับไป ไม่ได้ด้วยฝีมือต้องใช้เล่ห์กล พระเจ้าหงสาวดีจึงถามพระมหาธรรมราชาว่าจะ ทำอย่างไรให้ชนะศึกโดยเร็ว พระมหาธรรมราชาทรงแนะว่าพระยารามเป็นแม่ทัพ สำคัญให้ได้ตัวมาการยึดพระนครจักสำเร็จ จึงมีสาสน์มาถึงพระอัครชายาว่า
.... การศึกเกิดจากพระยารามที่ยุยงให้พี่น้องต้องทะเลอะกัน ถ้าส่งตัวพระยารามมา ให้พระเจ้าหงสาวดีจะยอมเป็นไมตรี ทางสมเด็จพระมหินทร์ฯ ทรงอ่านสาสน์แล้ว ปรึกษากับข้าราชการต่างๆจึงเห็นสมควรสงบศึกเพราะผู้คนล้มตายกันมากแล้ว สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงรับสั่งให้ส่งพระสังฆราชออกไปเจรจาและส่งตัวพระยาราม ให้พระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง)เพื่อเป็นไมตรี แต่พระเจ้าหงสาวดีตบัตสัตย์ไร้สัจจะวาจาไม่ยอมเป็นไมตรี แต่กลับบอกว่าจะต้องยอมแพ้และเป็นเชลย ทำให้สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงพิโรธโกรธแค้นในการกลับกลอกของบุเรงนองอย่างมาก ทรงรับ สั่งให้ขุนศึกทั้งหลายรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพม่าก็เห็นว่างานนี้ก็ยัง ตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้ จึงส่งพระมหาธรรมราชามาเกลี้ยกล่อมให้ยอมแพ้ แต่ถูก ทหารไทยเอาปืนไล่ยิงจนต้องหนีกลับไป ด้วยความเจ้าเล่ห์ของพระเจ้าหงสาวดีจึงคิดอุบายจะใช้เจ้าพระยาจักรีที่จับตัวได้ ตอนสงครามช้างเผือกเป็นใส้ศึก อนิจา..พระยาจักรียอมเนรคุณแผ่นดินไทยยอม เป็นใส้ศึกให้พม่า โดยวางแผนจำคุกพระยาจักรีในค่ายด้านตะวันออก แล้วแกล้ง ปล่อยให้หนีในตอนกลางคืน(มีเครื่องพันธนาการโซ่ล่ามมาด้วย) รุ่งเช้าพม่าทำที เป็นตามหาแต่ไม่พบเลยจับตัวผู้คุมมาตัดหัวเสียบไว้ริมแม่น้ำเพื่อให้ไทยหลงกล สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงดีพระทัยที่พระยาจักรีหนีมาได้ จึงทรงแต่งตั้งให้เป็น ผู้บังคับบัญชาการรบแทนที่พระยาราม แผนชั่วร้ายจึงเริ่มขึ้นพระยาจักรีได้ใส่ ร้ายให้พระศรีสาวราชว่าเป็นกบฏจึงถูกสำเร็จโทษ นอกจากนี้พระยาจักรียังได้ ย้ายแม่ทัพที่รบเก่งๆเอาไปไว้ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญทำให้การป้องกันพระนคร เริ่มอ่อนแอ แผนชั่วร้ายได้ดำเนินมา ๒ เดือนเมื่อเห็นว่าได้เวลาอันควรพระยา จักรีจึงให้สัญญาณแก่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุกด้าน ในที่สุดไทยจึงเสียกรุงแก่พม่าเพราะมีใส้ศึกคนขายชาติ (มิได้เสียกรุงเพราะ ความสามารถทางการรบ ) รวมเวลาที่พม่าล้อมกรุงศรีฯเอาไว้ ๙ เดือน
คนทรยศต่อแผ่นดินยังมี พระยาพลเทพอีกหนึ่งคน ตามคำบอกกล่าวของ ชาวกรุงเก่าว่า “ เมื่อพระเจ้ากรุงศรีฯเห็นว่าทัพเริ่มแตกจึงรับสั่งให้ทหารปิด ประตูเมืองและรักษาหน้าที่เชิงเทินเอาไว้ให้มั่น แต่ทางพระยาพลเทพผู้ทรยศ ได้แอบส่งอาวุธ เสบียงอาหารให้พม่า พร้อมทั้งรับปากว่าจะเปิดประตูเมือง ทางด้านตะวันออกให้เมื่อพม่าบุกเข้าตี ”

๖ กรรมตามสนอง ......หลังจากที่ไทยได้เสียกรุงแก่พม่าแล้ว (หลังจากพระมหาจักรพรรดิสวรรคต ๕ เดือน) พระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง)ได้ให้พระมหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขึ้นต่อกรุงหงสาวดี การรบครั้งนั้นถึงแม้จะชนะแต่พม่าก็เสียไพล่พลเป็นจำนวนมากมาย จึงกวาดต้อนชาวเมืองไปเป็นเชลยจำนวนมากเหลือไว้เพียง ๑๐๐๐ คน ส่วนสมเด็จพระมหินทร์ฯและพระญาติรวมทั้งข้าราชการได้ถูกนำตัวไปไว้ยังเมืองหงสาวดี แต่สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงประชวรและสวรรคตระหว่างทาง พระมหาธรรมราชาได้ขอสมเด็จพระนเรศวรเพื่อมาช่วยราชการ ขณะนั้นพระองค์ มีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา พระเจ้าบุเรงนองยินยอมแต่ต้องแลกกลับพระสุพรรณกัลยาณีซึ่งเป็นพระพี่นางสมเด็จพระนเรศวร โดยนำไปเป็นพระชายาและองค์ประกันแทน ทางด้านพระยาจักรีผู้ทรยศ ในพงศาวดารได้กล่าวว่า พระเจ้าบุเรงนองได้ให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกแต่ทางพระยาจักรีไม่ต้องการจะขอไปรับราชการที่กรุงหงสาวดี ฝ่ายบุเรงนองเลี้ยงพระยาจักรีไว้ไม่นานเพราะว่าพระยาจักรีทรยศแม้กระทั่งแผ่นดินเกิด จึงพาลหาข้อผิดกล่าวโทษเพื่อประหารชีวิตเสีย ( นี่เป็นกรรมตามสนองในครั้งที่พระยาจักรีให้ร้ายพระศรีสาวราชน้องยาเธอ จนถูกสำเร็จโทษ )

๗ เขมร สันดาลเนรคุณ .... เมื่อปีพศ. ๒๐๗๕ ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ ( ช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจากพระชัย ราชามาเป็นพระเทียรราชา หรือพระมหาจักรพรรดิ ) กรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาตี ไทย ฝ่ายเขมรพระยาละแวกเห็นได้ทีจึงยกทัพเข้ามาทางปราจีนบุรีกวาดต้อนผู้คน กลับไปเขมรจำนวนมาก หลังจากพม่ายกทัพกลับไปสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรง พิโรธมาก จึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปถึงเมืองพระตะบองและละแวก พระยาละแวก เห็นท่าจะแพ้ในการศึกจึงมีราชสาสน์มากราบทูลพระมหาจักรพรรดิ จับใจความได้ ว่า “ ข้าพระองค์ผู้ปกครองกัมพูชา มิได้เกรงพระบรมเดชานุภาพที่ไปกวาดต้อน คนจากปราจีนบุรี ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณา การมาถวาย และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปวสาน ”
หลังจากนั้น ๓ วันพระยา ละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการพร้อมด้วยนักพระสุโทและนักพระสุทันเป็นราชบุต มาเข้าเฝ้า ทางพระมหาจักรพรรดิก็ทรงคลายพิโรธและขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยง ดู พระยาละแวกก็ยอมจากนั้นก็กวาดต้อนคนชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย ต่อมาไม่นานญวณได้ยึดเมืองละแวก ไทยจึงส่งกองทัพไปช่วยเพื่อตีเมืองคืนแต่ทำไม่สำเร็จ
ในปีพศ.๒๑๑๓ รัชสมัยพระมหาธรรมราชาหลังจากที่ไทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรได้ถือโอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนา-ยก(ทั้งที่เคยให้สัจจะว่าจะขอเป็นข้าพระบาทกษัตริย์ไทยชั่วกัลปาวสาน) พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูกพระจำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง ทัพของเขมรถอยกลับไปแต่ก็ย้อนกลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง นอกจากนี้พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อนผู้คนแถวจันทรบุรี ระยอง ฉะเชิง เทรากลับไปเขมรจำนวนมากด้วยความคดในข้องอในกระดูกพระยาละแวกได้ยก ทัพมาถึงปากน้ำพระประแดงโจมตีเมืองธนบุรีจับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็น เชลยจำนวนมาก เลยได้ใจรวบรวมคนหมายจะตีกรุงศรีอยุธยา แต่งทัพเรือ ๓๐ ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย แต่โชคไม่ดีถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทางพระประแดง ( หนีไม่หนีเปล่ายังกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย ..... เลวจริงๆ )
ในปีพศ.๒๑๒๙ พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกหงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า “ พระยาละแวกตบัตสัตย์อีกแล้ว จึงต้องยกไปปราบให้ราบคราบ ” ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก
ในปีพศ.๒๑๓๒ หลังจากสมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ทรงปรึกษาข้าราชการว่ากษัตริย์เขมรมีใจคิดไม่ซื่อเหมือนพระยาละแวก ชอบซ้ำเติมไทยในยามศึกกับพม่า จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกทัพไปแก้แค้นเอาโลหิตมาล้างพระบาต ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์ แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้ ทรงล้อมเมืองนานถึง ๓ เดือนยังตีไม่ได้ เสบียงอาหารเริ่มลดน้อยลงจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน แล้วจะเตรียมการมาตีในภายหน้า

๘ พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ.... ปีพศ.๒๑๑๗ พระเจ้าหงสวาดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ ราชบุตรชื่อมังเอิญหรือมังไชยสิงห์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง ตามธรรมเนียมประเพณีแล้วบรรดาประเทศราชที่เป็นเมืองขึ้นจะต้องเดินทางไปถวายบังคมกษัตริย์องค์ ใหม่แสดงความจงรักภักดีรวมทั้งไทยด้วย แต่ว่าเมืองคังมีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้ครองนครไม่เดินทางมาร่วม หมายถึงกระด้างกระเดืองคิดแข็งเมือง ทางพระเจ้านันทบุเรงได้สั่งให้ยกทัพไปปราบเมืองคัง เพื่อแสดงอำนาจบารมี โดยมีการจัดทัพเป็น ๓ กองทัพคือ ๑ กองทัพพระมหาอุปราช เป็นโอรสของพระเจ้านันทบุเรง มีชื่อเดิม มังสามเกียด หรือมังกะยอชะวา ๒ กองทัพพระสังกะทัต เป็นราชบุตรของพระเจ้าตองอู มีชื่อเดิม นัดจินหน่อง ๓ กองทัพสมเด็จพระนเรศวร เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์ไทย เมืองคังมีทำเลอยู่บนเขาทางขึ้นก็เป็นซอกเขา ยากต่อการเข้ายึด เริ่มการศึกทาง พระมหาอุปราชเข้าตีก่อนและแพ้ลงมา ครั้งที่สองให้พระสังกะทัตเข้าตีก็ไม่สำเร็จ ต่อไปเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระนเรศวร ด้วยทรงพระปรีชาสามารถจึงตีเมืองคังได้สำเร็จและจับตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาถวายพระเจ้านันทบุเรงอีกด้วย การศึดครั้งนี้สร้างความอับอายให้พระเจ้านันทบุเรงมาก เพราะต้องการให้ราชโอรสชนะ ใช่แต่เรื่องการศึกเท่านั้นในยามว่างก็มีการนำไก่ชนมาตีกัน ระหว่างไก่ของสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราช ผลคือไก่ชนของพระนเรศวรตีชนะทำเอาพระมหาอุปราชเสียหน้าจึงตรัสว่า “ ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ ” พระนเรศวร ทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสกลับไปว่า “ ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ได้ ” ( ถ้าลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขับไล่เขมร การตีเมืองคัง ได้สำเร็จ จนถึงการชนไก่ จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระบารมีเหนือกว่า ทางฝ่ายพม่ามากนัก )






๙ ...ทรงประกาศอิสรภาพ ..... ปีพศ.๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช (เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ)ยกทัพไปปราบ สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาศที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน จึงทรงเดินทัพช้าๆเพื่อรอ ฟังผลการรบ ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้วจึงคิดจะกำจัด โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบหลังจากที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยารามนำความ เข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์ เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(น้ำเต้าทอง) ทรงประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า " ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป " พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๑๒๗ ณ.เมืองแครง จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่าจะอยู่ข้างไทยหรือพม่า ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี
สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้าอังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า “ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ” หลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พร้อมด้วยพระมหาเถรคันฉ่องและพระยาเกียรติ พระยาราม และชาวมอญ โดยเดินทัพผ่านหัวเมืองมอญแล้วเข้าด่านเจดีย์สามองค์มาจนถึงกรุงศรีอยุธยา ทรงปูนบำเน็จให้กับพระยามอญทั้งสอง และทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชอีกด้วย
สมเด็จพระนเรศวรทรงราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พศ.๒๐๙๘ เป็นราชโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรี ทรงมีพระพี่ นางสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ
๑๐ พิธีศรีสัจปานกาล ..... หัวเมืองทางเหนือเมืองกำแพงเพชรมีกองทัพพม่า แม่ทัพชื่อนันทสูราชสังครำ ควบคุมอยู่ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกณฑ์ไพล่พลจากหัวเมืองเหนือ เพื่อเตรียม รบกับพม่าแต่ว่ามีอยู่สองเมืองที่ไม่ยอมเข้าร่วมคือ สวรรคโลกและพิชัย เพราะพระยาสวรรคโลกเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรมีไพล่พลน้อยกว่าหงสาวดีมากนัก จึงเอาตัวรอดไม่ยอมร่วมทัพด้วย แต่กลับรวมไพล่พลทั้งสองเมืองเข้าไว้ในเมืองสวรรคโลกตั้งมั่นคอยรับการโจมตีจากทางกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่า พระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัยตั้งตน เป็นกบฏ พระองค์จึงทรงรับสั่งให้รวมพลกองทัพที่บ้านด่านลานหอย เดินทัพมาถึงสุโขทัยทรงให้ตั้งพลับพลาประทับอยู่บริเวณข้างวัดศรีชุม เนื่องด้วยไทยยังไม่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน พระองค์จึงทรงจัดให้มีพิธีศรีสัจปานกาลให้ตักน้ำกระพังโพยศรีที่ถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ อันมีสมเด็จพระร่วงมาทำน้ำพระพิพัฒน์- สัตยาให้แม่ทัพนายกองและไพล่พลถือน้ำทำสัตย์ว่าจะต่อสู้ข้าศึกเพื่อกอบกู้บ้านเมืองไทยให้เป็นอิสรภาพ เสร็จพิธีสมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปสวรรคโลกเพื่อปราบกบฏ ทรงให้โอกาศพระยาทั้งสองโดยส่งข้าหลวงไปร้องบอกว่าให้ออกมารับผิดเสีย พระองค์จะทรงอภัยให้ แต่พระยาทั้งสองไม่ยอมซ้ำยังตัดหัวของข้าหลวงที่ซื่อสัตย์โยนออกมาอีก ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธมาก ทรงรับสั่งให้ตีเมืองสวรรคโลกให้ ได้ หลังจากที่ตีเมืองได้แล้วทรงรับสั่งให้จับตัวพระยาสวรรคโลกและพระยาพิชัย มาประหารชีวิตทันที
๑๑ แพ้ทั้งอาและหลาน ..... ปีพศ.๒๑๒๗ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ ๗ เดือน พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงจัดทัพสองทัพให้ยกมาตีไทย ทัพแรกมีพระยาพสิม (เป็นพระเจ้าอาของพระเจ้าหงสาวดี)คุมกำลังสามหมื่นโดยยกมาทางด่านเจดีย์สาม องค์ ทัพที่สองมีเจ้าเมืองเชียงใหม่ชื่อมังนรธาช่อราชอนุชา ยกทัพบกและเรือมา จากเชียงใหม่มีกำลังพลหนึ่งแสน กองทัพพระยาพสิมยกเข้ามาถึงเมืองกาญจนบุรี(ถึงก่อนทัพเจ้าเมืองเชียงใหม่) สมเด็จพระนเรศวรทรงให้พระยาจักรียกทัพเรือไปยิงปืนใหญ่ดักข้าศึกแถวๆเมือง สุพรรณบุรี ทัพพม่าถูกปืนใหญ่แตกพ่ายหนีไปอยู่บนเขาพระยาแมน เจ้าพระยาสุโขทัยยกทัพไปเขาพระยาแมน เข้าตีทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนี กระเจิง เจ้าพระยาสุโขทัยจึงสั่งให้ตามบดขยี้ข้าศึกจนถึงชายแดนเมืองกาญจนบุรี หลังจากทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนีกลับไปได้สองอาทิตย์ กองทัพพระยาเชียงใหม่ได้เดินทัพมาถึงชัยนาท โดยที่ไม่ทราบข่าวการพ่ายแพ้ของพระยาพสิมจึงส่ง แม่ทัพและทหารจำนวนหนึ่งมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทรา ทางสมเด็จพระนเศวรทรงรับสั่งให้พระราชมนูยกทัพไปตีข้าศึกที่ปากน้ำบางพุทรา เมื่อไปถึงพระราชมนูเห็นว่ากำลังน้อยกว่ามาก(พม่ามีอยู่หนึ่งหมื่นห้าพันคน ไทยมีสามพันสองร้อยคน) จึงแต่งกองโจรคอยดักฆ่าพม่าจนเสียขวัญถอยกลับไปชัยนาท สุดท้ายทัพพม่าจึงถอยกลับไป


๑๒ พระแสงดาบคาบค่าย ........ ปีพศ.๒๑๒๙ สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างวีรกรรมอย่างชายชาติทหารที่มีความ กล้าหาญเหนือฝ่ายพม่าหลายครั้ง เนื่องด้วยทางพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงยังไม่เข็ดหลาบในความพ่ายแพ้ จึงประ ชุมกองทัพจำนวนสองแสนห้าหมื่นคนยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในช่วงต้นเดือนยี่ ข้าวในนายังเกี่ยวไม่เสร็จ สมเด็จพระนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชร ยกทัพออกไปป้องกันชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าว พอทัพพม่าของพระมหาอุปราชยก ทัพมาถึงก็ให้ทัพม้าเข้าตีจนทัพเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายหนีเข้าเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธอย่างมาก เพราะไทยไม่เคยแตกพ่ายแพ้ต่อข้าศึก อาจทำให้ทหารขวัญเสีย พระองค์และสมเด็จเอกาทศรถทรงเสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไปรบทันที (สมเด็จพระเอกาทศรถทรงถูกกระสุนปืนแต่ไม่เป็นอะไร เพียงแค่ฉลองพระองค์ขาดเท่านั้น) ผลปรากฏว่าทรงยึดค่ายคืนมาได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร แต่โชคดีที่พระบิดาสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงขอชีวิตเอาไว้ การศึกครั้งนี้พม่าหมายหมั้นจะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของทหารไทยจึงรักษาที่มั่นเอาไว้ได้เสมอ วีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรในการศึกมีดังนี้ ทรงเสด็จออกปล้นค่ายพม่าซึ่งเป็นทัพหน้าของหงสาวดี ข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระองค์จึงไล่ตีมาจนถึงค่ายหลวงของพระเจ้าหงสาวดี ทรงเสด็จลงจากม้าคาบพระแสงดาบแล้วนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาข้างล่างหลายครั้ง จึงทรงเสด็จกลับพระนคร พระแสงดาบนี้มีนามว่า “ พระแสงดาบคาบค่าย ” ในพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบการกระทำอันห้าวหาญของสมเด็จพระนเรศวร จึงทรงตรัสว่าถ้าพระนเรศวรออกมาอีกจะต้องจับพระองค์ ให้ได้ถึงแม้ว่าจะใช้ทหารมากมายเพียงใด จึงวางแผนให้ลักไวทำมูนำทหารจำนวนหนึ่งหมื่นคนไปดักจับ แน่นอนสมเด็จพระนเรศวรทรงออกไปปล้นค่ายหลวงพม่าอีก พม่าจึงใช้ทหารจำนวนน้อยเข้าล่อให้พระองค์ไล่ตี เข้ามาจนถึงบริเวณที่ ลักไวทำมูซุ่มรออยู่ ลักไวทำมูจะเข้ามาจับพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรจึงใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตายทันที แต่พระองค์ยังถูกล้อมอยู่และสู้กับทหารพม่า จำนวนมากนานร่วมชั่วโมง จนทัพไทยตามมาทันจึงเสด็จกลับพระนครได้ สุดท้ายกองทัพหงสาวดีบอบช้ำจากการสู้รบกับไทยอย่างมาก จึงถอยทัพกลับไปเช่นเดิม นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระบารมีและทรงพระปรีชายิ่งทางด้านการรบของสมเด็จพระนเรศวร
...............................................................................

๑๓ สงครามยุทธหัตถี ..... ปีพศ.๒๑๓๓ สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระบิดาสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรทรงขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทางพระเจ้านันทบุเรงยังคิดจะปราบปรามไทยให้ได้ จึงจัดทัพให้พระมหาอุปราชายกทัพหลวงมีกำลังพลสองแสนคน ยกทัพมาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรทราบข่าวจึงทรงใช้กลศึกในการรบเพราะมีทหารน้อยกว่ามาก สั่งให้กองทัพซุ่มรออยู่แล้วแต่งทัพน้อยออกไปล่อข้าศึก ทางฝ่ายพระมหาอุปราชาเห็นดังนั้นจึงประมาทยกทัพเข้าไล่ตีจนมา ถึงบริเวณที่ทัพไทยซุ่มรออยู่จึงได้รบพุ่งกันด้วยสามารถจนถึงขั้นตะลุมบอน ทัพพม่าแตกพ่ายหนีกระเจิดกระเจิง ทัพไทยไล่ตามมาติดๆเกือบจะจับพระมหาอุปราชาได้ เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความอัปยศอดสูให้พระเจ้านันทบุเรงอย่างมาก เพราะว่ายกทัพไปหลายแสนยังแพ้กลับมา จึงทรงให้แก้ตัวใหม่อีกครั้งคราวนี้พระมหาอุปราชานำกองทัพทหารจำนวนสองแสนสี่หมื่นคนหมายจะชนะศึกครั้งนี้ ประมาณปลายปี พศ.๒๑๓๕ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบว่าพม่าจะยกทัพใหญ่มาตีไทยอีกแล้ว จึงทรงเตรียมไพล่พลมีกำลังหนึ่งแสนคน เดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรีข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย รุ่งเช้าของวันจันทร์เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พศ.๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระองค์เครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้างนามเจ้าพระยาไชยานุภาพเป็นคชาสาร ทางสมเด็จพระเอกาทศรถทรงช้างนามเจ้าพระยาปราบไตรจักรเป็นคชาสาร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงาที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดนพม่า จะมีเพียงทหารรักษาพระองค์และจตุลังคบาลเท่านั้นที่ติดตามไป ช้างทรงของสองพระองค์หลงเข้าไปลึกประมาณร้อยเส้น และ ตกอยู่ในวงล้อมข้าศึก ด้วยพระปฏิพาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึก จึงได้ทรงท้าทายให้พระมหาอุปราชาออกมาชนช้างทำยุทธหัตถี เพื่อเป็นเกียรติในการรบแก่ไพล่พล พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้นจึงทรงช้างพลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทันจึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลักสมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชา เข้าที่ไหล่ขวาสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ( เป็นการชดใช้กรรมสมัยที่พระเจ้าแปรฟันพระแสงของ้าวถูกพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์ชีพ ) ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะรีเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้วจึงใช้ปืนยิงใส่สมเด็จพระนเรศวรทรงได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้นทัพหลวงไทยตามมาช่วยทันจึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าก็ยกทัพกลับไป
( สถานที่ทำยุทธหัตถี ปัจจุบันคือ ต.ดอนเจดีย์ ห่างจากหนองสาหร่าย ๑๐๐ เส้น จ.สุพรรณบุรี )

ช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าพระยาปราบหงสาวดี

พระแสงของ้าวได้พระราชทานนามว่า เจ้าพระยาแสนพลพ่าย

พระมาลาหนังที่ถูกฟันขาดได้พระราชทานนามว่า พระมาลาเบี่ยง

สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้สร้างเจดีย์ใหญ่ชื่อ “ เจดีย์ชัยมงคล ” ในวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศที่ทรงทำยุทธหัตถีชนะ

๑๔ พระสุพรรณกัลยาณี ..... คงยังจำกันได้ที่มีการแลกองค์ประกันระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับพระสุพรรณกัลยาณีพระพี่นางประมาณปีพศ.๒๑๑๒ หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชาแล้ว พระเจ้านันทบุเรงได้ทราบข่าวว่าโอรสสิ้นพระชนม์ก็พระพิโรธอย่างมาก ได้ลงโทษทัณฑ์แก่แม่ทัพนายกอง และพระสุพรรณกัลยาณี ดังหลักฐานจากพงศาวดารดังนี้
คำให้การขุนหลวงหาวัด (พระเจ้าอุทุมพร) “ พระเจ้านันทบุเรง(เดิมชื่อมังไชย สิงหราช) รับสั่งให้เพชรฆาตนำเสนามอญรวมทั้งเจ็ดชั่วโคตร เอาไม้ลำทำตับเข้าแล้วปิ้งไฟให้ตายทั้งเจ็ดชั่วโคตร ยังไม่หนำใจ พระเจ้านันทบุเรงเสด็จเข้าวัง เห็นพระพี่นางสุพรรณกัลยาณีบรรทมให้พระโอรสเสวยนมอยู่ ด้วยความเหี้ยมโหดผิดมนุษย์ จึงฟันด้วยพระแสงถูกพระพี่นางและโอรส และลูกในครรน์อีกหนึ่งพระองค์สิ้นพระชนม์ทันที ”

คำให้การจากชวกรุงเก่า “ พระเจ้านันทบุเรงรับสั่งให้นำตัวแม่ทัพนายกองที่ไปรบครั้งนั้นมาใส่ย่างไฟให้ตายทั้งเป็น (โหดผิดมนุษย์จริงๆ) แล้วเข้าพระตำหนักของพระพี่นางสุพรรณกัลยาณีใช้พระแสงฟันพระพี่นางกับพระธิดาสิ้นพระชนม์คามือ ”

ก่อนที่พระพี่นางสุพรรณกัลยาณีจะถูกปลงพระชนม์ ได้ทรงมีรับสั่งให้พระองค์จันทร์ช่วยนำพระเกศาของพระพี่นางไปมอบให้สมเด็จพระนเรศวร และไม่นานลางสังหรณ์ของพระพี่นางก็เป็นจริง หลังจากที่พระพี่นางทรงสิ้นพระชนม์แล้ว พระองค์จันทร์ได้แอบหนีจากเมืองหงสาวดีพร้อมด้วยทหารมอญคนหนึ่ง ( ทางหงสาวดีได้จัดพิธีศพให้พระพี่นางอย่างสมเกียรติ และปิดข่าวการสิ้นพระชนม์ไม่ให้ไทยทราบ ส่วนพระเจ้านันทบุเรงผู้เหี้ยมโหดก็เป็นบ้าเสียสติไป ) พระพี่นางมีพระชันษา ๔๑ พรรษาขณะสิ้นพระชนม์ องค์จันทร์ทรงหนีมาทาง อ.ปายและหยุดพักที่กระท่อมแห่งหนึ่ง ทหารพม่าตามมาทันจึงเผากระท่อมและฆ่าผัวเมียเจ้าของกระท่อมผู้ให้ที่พักพิงตายทั้งคู่ พม่าคิดว่าองค์จันทร์คงจะตายในกองเพลิงแล้วจึงกลับเมือง องค์จันทร์และทหารมอญใช้เวลาเดินทางจากกรุงหงสาวดีจนถึงกรุงศรีอยุธยารวมเวลา ๓ เดือนเศษ ครั้นถึงพระนครก็กราบทูลเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระสุพรรณกัลยาณีให้ทราบ บรรยากาศในราชวังแห่งกรุงศรีอยุธยามีแต่ความโศกเศร้ายิ่งนัก สมเด็จพระนเรศวรทรงพระพิโรธอย่างมากทรงมีรับสั่งให้เตรียมไพล่พลเพื่อยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีจับตัวนันทบุเรงเจ้าผู้โหดเหี้ยม ตัดหัวแล้วนำเลือดมาล้างตีน เซ่นสรวงดวงวิญญาณพี่กู หลังจากที่พระแม่เจ้าพระวิสุทธิกษัตริย์(พระมารดของสมเด็จพระนเรศวร ) ได้ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระพี่นางก็ทรงโศกเศร้าและประชวรลง ไม่เกิน ๓ เดือนก็ทรงสวรรคต

สมเด็จพระนเรศวรทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระอัฐิพระสุพรรณกัลยาณี พระพี่นางที่วัดน้ำฮู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งนามว่า พระพุทธรูปอุ่นเมือง เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายให้พระพี่นาง

๑๕ ตีกรุงหงสาวดีล้างแค้น ..... หลังจากจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระแม่เจ้า สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีในปี พศ.๒๑๓๘ ทรงนำกำลังพลประมาณหนึ่งแสนสองหมื่นคนเข้าไปล้อมเมืองหงสาวดีเอาไว้นาน ๓ เดือนยังตีไม่ได้ ทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ และพระเจ้าตองอูยกทัพมาช่วยกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพกลับพระนคร ผ่านมา ๔ ปี พศ.๒๑๔๒ สมเด็จพระนเรศวรทรงจัดกองทัพเตรียมยกไปตีกรุงหงสาวดีอีกครั้งทางเมืองยะไข่และตองอูทราบจึงเข้ามาสวามิภักร แต่กลับมีพระรูปหนึ่งชื่อมหาเถรเสียมเพรียมได้ยุยงให้พระเจ้าตองอูกบฏต่อไทย โดยเข้าตีหงสาวดีก่อนแต่ตีไม่สำเร็จจึงล้อมเมืองเอาไว้ ทางหงสาวดีทราบข่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงปราบกบฏมอญได้ จึงเปิดประตูเมืองรับพระเจ้าตองอูพร้อมทั้งมอบ อำนาจในการปกครองและบัญชาการรบให้ด้วย พระเจ้าตองอูจึงคิดจะหาพรรคพวกโดยยกราชธิดาของพระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้ายะไข่เพื่อให้กองทัพยะไข่ช่วย ต่อสู้กับกองทัพไทย(ไร้สัจจะเหมือนสมัยพระเจ้าบุเรงนอง) จากนั้นพระเจ้าตองอู จึงนำตัวพระเจ้าหงสาวดีไปไว้ยังเมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพมาถึงหงสาวดี ทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีหนีไป อยู่เมืองตองอูก็ทรงผิดหวังมาก จึงสั่งให้เผาเมืองหงสาวดีทิ้งเสียแล้วยกกองทัพไปล้อมเมืองตองอู เนื่องจากตองอูเป็นเมืองใหญ่มีป้อมปราการแข็งแกร่ง ซ้ำมีคู เมืองที่กว้างและลึกอีกต่างหาก พระองค์ทรงตรัสว่า “ หากกูตีตองอูแล้วจับไอ้นันทบุเรงมาเซ่นดวงวิญญาณของพี่กูไม่ได้ ก็จะไม่เข้าพระนคร ” ทรงล้อมเมืองอยู่ ๒ เดือนเสบียง อาหารเริ่มหมด ไข้ป่าก็มาก ทหารเจ็บป่วยหลายคนจึงทรงสั่งถอยทัพ และพระองค์ก็มิได้เสด็จเข้าไปในพระบรมมหาราชวังนานร่วม ๓ ปี
๑๖ การทำศึกครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวร ..... ในปีพศ.๒๑๔๗ พม่าเกิดการแตกแยกขึ้นเมื่อโอรสพระเจ้าตองอู(นัดจินหน่อง) ลอบวางยาพิษให้พระเจ้าหงสาวดีสิ้นพระชนม์ เมืองอังวะจึงยกทัพมาตีหัวเมืองที่อยู่ทางเหนือของไทย สมเด็จพระนเรศวรทรงขัดเคืองเป็นยิ่งทรงจัดกองทัพใหญ่ มีกำลังพลหนึ่งแสนคนยกไปตีอังวะ ทรงให้พระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถยก ทัพไปทางเมืองฝาง ส่วนพระองค์ยกทัพมาทางเมืองหาง ฤ จะสิ้นบุญบารมีจอมกษัตริย์นักรบ สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นฝีหัวระลอกขึ้นบริเวณพระพักตร์รามเป็นบาดทะพิษ ทรงรับสั่งให้ทหารไปเชิญเสด็จ พระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้าพระองค์ได้ ๓ วัน สมเด็จพระนเรศวรก็ ทรงสวรรคต ณ.เมืองหาง
รวมเวลาที่พระองค์ทรงตรากตรำการศึกสงครามเพื่อ กอบกู้ชาติบ้านเมืองเป็นเวลา ๒๐ ปี (ตั้งแต่ พศ.๒๑๒๗ - ๒๑๔๗ ) เราชาวไทย ซึ่งเป็นลูกหลาน เหลน ของพระองค์ท่านจึงควรภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกไทยชาตินักรบ

๑๗ คิดรุกรานไทยกรรมจึงตามสนอง ..... ในปีพศ.๒๓๐๐ พม่าถูกมอญเข้ายึดครองอยู่ใต้อำนาจถึง ๗ ปี แต่มีพรานป่าชาวพม่าชื่อมังอองไจยะ รบชนะมอญและยึดเมืองคืน มังอองไจยะจึงตั้งตนขึ้นเป็น กษัตริย์พม่าชื่อ พระเจ้าอลองพญา ประมาณปี พศ.๒๓๐๒ ด้วยความชอบรุกรานบ้านเมืองผู้อื่นพระเจ้าอลองพญาจึงจัดทัพมาตีไทย (เพราะทราบว่ากำลังทหารของ ทยช่วงนั้นอ่อนแอ) ทางด่านสิงขร ประจวบฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี มุ่งเข้าสู่กรุงศรี อยุธยา ทางพม่าเลยได้ใจที่จะตีเอากรุงศรีอยุธยาให้ได้ พระเจ้าอลองพญาสั่งให้ ตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนคร โดยเป็นคนจุดไฟยิงปืนใหญ่เองแต่ปืนใหญ่ระเบิด ถูกพระเจ้าอลองพญาอาการสาหัส(กรรมสนอง) พม่าจึงถอยทัพกลับมาทางด่าน แม่ละเมา และพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ที่เมืองตาก
ในปีพศ.๒๓๐๖ เมื่อพระเจ้ามังระได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาที่สิ้นพระชนม์จากปืนใหญ่ ด้วยสายเลือดของผู้รุกรานจึงจัดทัพมาตีไทย ให้แม่ทัพมังมหานรธา ยกทัพมาตีทวาย ตะนาวศรี ระนอง ชุมพร ประจวบฯ จนถึงเพชรบุรี แต่ทัพไทย นำโดยพระยาตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรี และพระยาพิพัฒน์โกษาได้ต่อสู้กับพม่าเป็นสามารถจนทัพพม่าแตกพ่ายหนีกลับไป




๑๘ ศึกบางระจัน วีรชนผู้รักชาติ ..... ในปีพศ.๒๓๐๘ พระเจ้ามังระคิดจะตีกรุงศรีฯให้ได้ จึงส่งกองทัพซึ่งมีเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ( ฝ่ายไทยพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์ต่อจาก พระอนุชา พระบิดาคือ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ก่อนที่พระบิดาจะสวรรคตได้ทรง ดำรัสไว้ว่า “ เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (พระเจ้าเอกทัศน์ หรือ ขุนหลวงขี้เรื่อน) นั้นโฉดเขรา ไร้สติปัญญา ถ้าได้ครองแผ่นดินจะทำให้แผ่นดินเกิดภัยพิบัติ จึงมีรับสั่งให้ไปบวชเสียอย่ามายุ่งราชการแผ่นดิน ” )
ที่เมืองวิเศษชัยชาญมีคนไทยชื่อ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง นายดอก (บ้านกลับ) นายทองแก้ว(บ้านโพธิ์ทะเล) ได้ช่วยกันสู้กับพม่าและฆ่าพม่าตายไป ๒๐ คน แล้วหนีมาที่บ้านบางระจัน ได้ร่วมกับชาวบ้านบางระจันนิมนต์พระสงฆ์พระอาจารย์ธรรมโชติ(วัดเขานางบวช)มาปลุกเสกคาถาอาคมให้หนังเหนียวมีกำลังใจสู้ ศึกกับพม่า ชาวบ้านรวมกันได้ประมาณ ๔๐๐ คน มีหัวหน้าคือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ พม่ายกทัพมาตีถึง ๗ ครั้งด้วยกันก็มิอาจเอาชนะชาวบ้านบางระจันได้ แต่บังเอิญมีชาวมอญชื่อสุกี้(เป็นมอญที่อาศัยอยู่ในไทย) ขันอาสารบกับไทย ใช้วิธีใจเย็นสู้กับชาวบ้านเพราะรู้ว่าชาวบ้านใจร้อน รบกันอยู่นานชาวบ้านก็มีใบบอกไปถึงกรุงศรีฯ เพื่อขอปืนใหญ่และกระสุนปืนแต่ได้รับการปฏิเสธ เพียงแต่ส่งนายกองมาช่วยดู ชาวบ้านจึงช่วยกันนำเศษทองเหลืองที่เรี่ยไรมาได้มาหล่อปืนใหญ่ ๒ กระบอก แต่ว่าปืนร้าวใช้งานไม่ได้ สุกี้เห็นว่าไทยเริ่มอ่อนแอจึงให้ขุดอุโมงค์เข้าไปใก้ลค่ายบางระจันแล้วเอาปืนใหญ่ตั้งหอสูงระดมยิงใส่ค่ายจนค่ายแตก ทำให้ไทยต้องเสียค่ายบางระจันแก่พม่า ( พร้อมด้วยเลือดเนื้อของวีรชนชาวบางระจัน ) ค่ายบางระจันถูกพม่าตีแตกในวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีจอ พศ.๒๓๐๙ รวมระยะเวลาที่วีรชนชาวบางระจันต่อสู้นานถึง ๕ เดือน

ด้วยวีรกรรมนี้รัฐบาลไทย จึงกำหนดให้วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ เป็น “ วันวีรชนค่ายบางระจัน ”

๑๙ เสียกรุงครั้งที่สองเพราะกษัตริย์ ..... ความเดิมหลังจากสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงสวรรคตก็ได้ให้เจ้าฟ้ากรมขุนพรนิมิตขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ทรงครองราชย์ได้เดือนเศษจะต้องอุปสมบท จึงให้เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่า พระเจ้าเอกทัศน์หรือชาวบ้านเรียกขุนหลวงขี้เรื้อน เมื่อพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์ก็เกิดลางร้ายต่างๆซึ่งอาจจะเป็นลางบอกเหตุให้เสียกรุงดังพระดำรัสของพระบิดา พม่ายกทัพเข้าประชิดพระนคร แม่ทัพไทยสั่งตั้งปืนใหญ่ยิงปะทะพม่าแต่กลับถูกสั่งห้าม เพราะเกรงว่าสนมในวังจะตกใจเสียงปืนใหญ่ (นี่ละหนาที่เขาว่าอย่าให้คนไม่ดีมีอำนาจ)ในที่สุดพม่าเริ่มจุดไฟเผารากกำแพงเมืองจนพังลงมา และเริ่มบุกเข้ายึดพระนครได้ในวันที่ ๙ เมษายน พศ.๒๓๑๐ เวลาสองทุ่มเศษ พม่าใช้เวลาล้อมเมืองอยู่ นาน ๑๔ เดือน กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่นานถึง ๔๑๗ ปี ฤ เป็นเพราะชะตาเมือง ...................

เราขอต่อต้านละครเรื่อง "ผู้ชนะสิบทิศ" และ "จะเด็ด".....เนื่องจากมีเนื้อหายกย่อง ศัสตรูของไทยในอดีต ให้ดูเป็นพระเอกเกินไป ทั้งที่พม่าได้ส่งทหารเข้ามาโจมตี เผาบ้านเมืองของปู่ ย่า ตา ยายของเรา ฆ่าพี่น้องคนไทย จับไปเป็นเชลย เข้ามาปล้นบ้าน เผาวัดวาอารามในกรุงศรีอยุธยาจนไม่มีเหลือ ไม่ทราบว่าผู้กำกับละครคิดอย่างไร ? ทำไมไม่สร้างเรื่องเลือดสุพรรณ หรือบางระจัน งงครับ (เห็นกำลังถ่ายทำเรื่อง พระนเรศวรอยู่ด้วย) หรือว่าท่านเพี้ยนไปแล้ว ขอให้พี่น้องไทยร่วมกันต่อต้าน ไม่ดูละครเรื่องนี้และออกมาประท้วงช่อง 9 ที่จะนำออกอากาศด้วย
๒๐ การกู้อิสรภาพโดยพระเจ้าตากสิน ..... หลังจากที่พม่าเข้ายึดพระนครกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว ทหารพม่าก็กระทำตัวดั่งโจรป่าจุดไฟเผาวัดวาอาราม ราชวัง ปราสาทราชมนเทียร ปล้นเอาทรัพย์สินแก้ว แหวนเงินทอง จับชาวบ้านมาทรมานเพื่อสอบถามที่ซ่อนทรัพย์สินไว้ที่ใด นอกจากนี้ทหารพม่ายังเอาไฟสุมหลอมเอาทองคำที่ห่อหุ้มองค์พระพุทธรูปในวิหารหลวงวัด พระศรีสรรเพชรกลับไปด้วย(นี่คือการปล้นเมืองมิใช่การทำศึกสงครามอย่างอาจหาญ)
สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ร่วมรบขณะกรุงศรีฯถูกพม่าเข้าตี ก่อนที่จะเสียกรุงประมาณ ๓ เดือนพระเจ้าตากสินได้สั่งยิงปืนใหญ่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากข้าราชการฝ่ายใน (ที่ประจบสอพลอ)จึงถูกภาคทัณฑ์ และทรงเห็นทหารไทยในขณะนั้นสู้รบอย่างขาดกลัวยิ่งทำให้พระองค์ทรงท้อพระทัยมาก จึงรวบรวมทหารได้ ๕๐๐ คน เมื่อย่ำค่ำก็เดินทางออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าทัพพม่าหนีไปทางด้านทิศตะวันออก (บ้านโพธิ์สาวหาญ) เดินทัพลงมาทางบ้านพรานนกแขวงเมืองปราจีนบุรี ก็ต้องรบกับพม่าเป็นระยะๆ ในวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ พศ.๒๓๐๙ กองทัพของพระเจ้าตากเดินทางมาถึงเมืองระยองตั้งค่ายมั่นอยู่ที่วัดลุ่มเขตบ้านท่าประดู่ จากนั้นก็ทราบข่าวว่ามีเจ้าเมืองข้าราชการบางคนในเมืองระยองจะคิดกบฏปล้นค่าย พระเจ้าตากสินจึงสั่งให้ดับไฟในค่ายแล้วดักรอจนพวกกบฏบุกเข้ามา ทหารของพราะเจ้าตากก็สู้รบจนชนะ จากนั้นจึงส่งหนังสือไปยังพระยาจันทบุรีเพื่อขอเสบียง แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือ พระเจ้าตากทรงยกทัพไปตีขุนรามหมื่นซ่องที่เมืองแกลงแตกทัพหนีไปอยู่ จันทบุรี แล้วพระองค์ได้ยกทัพเข้าตีเมืองชลบุรีซึ่งมีนายทองอยู่ นกเล็กเป็นใหญ่อยู่ ทางนายทองอยู่เห็นว่าสู้ไม่ได้จึงยอม พระเจ้าตากทรงแต่งตั้งให้นายทองอยู่ เป็นพระยาอนุราฐบุรีเจ้าเมืองชลบุรี ทางพระยาจันทบุรีคิดจะกำจัดพระเจ้าตากจึงออกอุบายให้พระสงฆ์ ๔ รูปเป็นฑูตเชิญพระเจ้าตากเข้าเมืองจันทบุรี ด้วยเดชะบุญมีคนหวังดีแอบมาบอกว่าเป็น กลลวงของพระยาจันทบุรี พระเจ้าตากจึงไม่เข้าเมืองทรงยกทัพมาอยู่ที่ริมเมือง ทรงมองเห็นว่ากองทัพเมืองจันทบุรีเข้มแข็งมากการที่จะตีหักเอาเมืองคงยากยิ่ง จึงทรงสร้างขวัญกำลังใจให้ทหารโดยสั่งว่า ................. “ หลังจากกินข้าวเย็นแล้วให้ทุบหม้อข้าวทิ้งให้หมด เราจะไปกินข้าวเช้าในเมืองจันทบุรี ” เวลาประมาณตีสามพระเจ้าตากขึ้นช้างพังคิรีบัญชร พุ่งเข้าชนประตูเมืองและยิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารสู้รบ ประตูเมืองพังลงทหารของพระเจ้าตากเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ ส่วนพระยาจันทบุรีก็หนีไปอยู่เมืองบันทายมาศ พระเจ้าตากได้ยกทัพไปตีเมืองตราด และเริ่มต่อเรือรบจำนวนมาก สะสมอาวุธมากมายเตรียมเอาไว้ ฤดูฝนล่วงไปสามารถต่อเรือได้ ๑๐๐ ลำมีกำลังทหารไทย และจีนสี่พันเศษ พวกชาวบ้านมาแจ้งแก่พระเจ้าตากว่า พระยาอนุราฐบุรี (นาย ทองอยู่ นกเล็ก) เป็นโจรปล้นเรือสินค้า พระเจ้าตากจึงสั่งให้ประหารชีวิตเสีย

พระเจ้าตากยกทัพเรือออกจากจันทบุรีมุ่งเข้าสู่ปากน้ำเจ้าพระยา นายทองอินเป็น คนไทยที่พม่าให้รักษาเมืองธนบุรีไว้ได้แจ้งข่าวให้สุกี้แม่ทัพพม่าทราบว่า พระเจ้าตากได้ยกทัพมาแล้ว พระเจ้าตากทรงตีเมืองธนบุรีได้แล้วสั่งประหารนายทองอิน คนไทยที่ขายชาติทันที เสร็จแล้วจึงยกทัพไปกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายพม่านายทัพสุกี้ได้ตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายฟากตะวันตก พระเจ้าตากให้ทหารยกทัพเข้าตีค่ายฟากตะวันออกก่อน เมื่อตีได้ค่ายแล้วจึงจัดเตรียมบันไดไว้พาดปีนค่ายฟากตะวันตก รอเวลาจนรุ่งเช้าสั่งให้ตีค่ายพม่ารบกันจนถึงเที่ยง แม่ทัพสุกี้ถูกฆ่าตายในการรบ ทหารไทยเข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้นของพม่าได้ ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พศ.๒๓๑๐ รวมเวลากู้เอกราช ๖ เดือน

.. ๒๑ สงครามเก้าทัพ ..... ผ่านมา ๑๘ ปีหลังจากที่ไทยเป็นเอกราช ในปีพศ. ๒๓๒๘ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พม่าคิดจะตีไทย(อีกแล้ว)โดยมีพระเจ้าปดุงซึ่ง เป็นกษัตริย์ได้ ๓ ปีสั่งให้ยกกองทัพมาถึง ๙ ทัพรวมไพร่พลได้ ๑๔๔,๐๐๐ คน หวังจะตีไทยให้จงได้ ทางฝ่ายไทยรวบรวมกำลังพลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ คนซึ่งจะเห็นว่าน้อยกว่าพม่าครึ่งหนึ่ง แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงให้กองทัพไปตั้งรบอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท ทรงให้นำปืนใหญ่และปืนปากกว้างอย่างยิงด้วยท่อนไม้เป็นกระสุนไปตั้งเรียงยิงใส่หอรบพม่าหักและพังลงมา ทำให้พม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ทรงจัดตั้งกองโจรโดยมีพระยาสีหราชเดโชชัย พระยาท้ายน้ำและพระยาเพชรบุรี คุมทหารไปซุ่มดักตัดเสบียงพม่า แต่ว่าพระยาทั้งสามทำการอ่อนแอไม่มีใจสู้ศึก กรมพระราชวังบวรฯจึงทรงดำรัสให้ประหารชีวิตทั้ง ๓ คนเสีย แล้วตั้งให้พระองค์เจ้าขุนเณรคุมทหารจำนวน ๑๘,๐๐๐ คนไปเป็นกองโจรซุ่มอยู่ที่ลำน้ำแควไทรโยค ด้วยความฉลาดของกรมพระราชวังบวรฯ จึงคิดอุบายให้แบ่งกองทัพทหารออกไปนอกค่ายในเวลากลางคืน พอรุ่งเช้าให้ถือธงทิวเดินทัพเข้ามาในค่าย ได้สร้างความครั่นคร้ามให้พม่าอย่างยิ่งเพราะคิดว่าไทยมีกำลังมากมาย รอเวลาจนเห็นว่าพม่าเริ่มอ่อนแอ-อดอยากกองทัพไทยจึงเข้าตีทัพที่ ๔และ ๕ ของพม่าจนพ่าย ยับหนีกลับไป ทางพระเจ้าปดุงทราบข่าวการพ่ายแพ้ของทัพทั้งสองจึงถอยทัพไป ยังเมืองเมาะตะมะ ส่วนทัพที่เหลือของพม่าก็ถูกกองทัพไทยตีแตกจนหมดสิ้น ( แสดงให้เห็นว่าถึงแม้จะมีกำลังคนมากมาย แต่ไร้ซึ่งสติปัญญาก็พบกับความ พ่ายแพ้ได้เช่นกัน )
หลังจากนั้น ๑ ปี พศ.๒๓๒๙ พม่าก็ยกทัพมาแสนกว่าคนตั้งค่ายที่ท่าดินแดง และสามสบ จ.กาญจนบุรี (นี่คือสันดานของผู้รุกราน) สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงให้จัดกองทัพหกหมื่นคนไปตีพม่า รบกันอยู่ ๓ วันไทยตีค่ายพม่าได้ พม่าก็แตกพ่ายหนีกลับไป

จากตรงนี้ ๔๐ ปี พม่าต้องรบกับอังกฤษ ในปี พศ.๒๓๖๘ กรรมตามสนองพม่าแพ้อังกฤษ และตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตราบแสนนาน ถ้าได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติไทยในอดีตแล้ว จะเห็นว่าเราเป็นชาติที่รักความสงบไม่ชอบรุกรานใคร ตรงข้ามกับพม่าซึ่งได้รุกรานไทยมานานตลอดระยะ เวลา ๔๕๐ ปี (ด้วยกรรมบันดาล ทุกวันนี้ประเทศของเขาก็ยังมีแต่ความวุ่นวายไม่สิ้นสุด)

หยดเลือด หยาดน้ำตาของคนไทยต้องหลั่งลงแผ่นดินมากเพียงใด วีรชนของไทยที่ได้เสียสระชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อรักษาแผ่นดินผืนนี้เอาไว้ให้ลูกหลาน ได้อยู่เย็นเป็นสุขตราบเท่าทุกวันนี้ ฉนั้นเราทุกคนจึงเป็นหนี้บุญคุณอันใหญ่หลวงนี้ ขอจงทดแทนคุณของแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้

วันจันทร์เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พศ.๒๑๓๕ เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา รัฐบาลไทยจึงกำหนดให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย

วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันทหารผ่านศึก ถ้าเราไม่มีทหารผู้เสียสระเหล่านี้ ก็คงไม่ได้อยู่เป็นสุขเช่นทุกวันนี้ อย่าลืมวีรชน วีรบุรุษและวีรสตรีเหล่านี้

"กู กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้เป็นโอรสของพระปิยะมหาราข ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า แผ่นดินสยามนี้บรรพบุรุษได้เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้ ไอ้อีมันผู้ใดคิดบังอาจทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คือกระทำการทุจริตก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว ก่อนที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโครตให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยาม อันเป็นที่รักของกู ......

ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา แผ่นดินใดที่ให้ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น
http://www.bandhit.com/History/History.html