การเกิดโรคฟันผุ มาจากปัจจัย 4 ประการ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ แผ่นคราบจุลินทรีย์ อาหารประเภทแป้งน้ำตาล ตัวฟัน และเวลา โดยแบคทีเรีย ที่มีอยู่ตามปกติในช่องปาก จะทำปฏิกิริยากับคราบ (Plaque) ที่ติดค้างอยู่ตามซอกฟัน และผิวเคลือบฟัน ซึ่งเราขจัดออกไปได้ไม่หมด เกิดเป็นกรดขึ้น ซึ่งกรดสามารถทำลายผิวเคลือบฟัน ก่อให้เกิดโรคฟันผุขึ้นได้หาก pH ในปาก มีค่าต่ำกว่า 5.5 บ่อยๆ และเป็นเวลานาน
อาการ
การผุของฟัน จะเริ่มขึ้นที่ชั้นผิวเคลือบฟันก่อน โดยจะเห็นเป็นจุดดำเล็กๆ หรือเป็นเส้นดำ ตามร่องฟันด้านบดเคี้ยว หรือเนื้อฟันมีสีขาวขุ่นผิดปกติ ระยะนี้มักไม่พบอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันแต่อย่างใด ซึ่งการทำความสะอาดฟันที่ดี สามารถชลอการลุกลามของโรคฟันผุได้ แต่หากเราปล่อยไว้ไม่ดูแล ฟันผุลุกลามไปถึงขั้นเนื้อฟัน จะมีอาการเสียวฟัน เมื่อเคี้ยวอาหาร หรือเมื่อกระทบของเย็น บางครั้งอาจมีอาการปวดได้ แต่หากเรายังปล่อยทิ้งไว้ จนฟันผุลุกลามไป ถึงขั้นโพรงประสาทฟัน ซึ่งมีเส้นเลือดและเส้นประสาท จะทำให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้น อาจถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับก็มี แม้ได้รับยาแก้ปวด บางครั้งก็อาจไม่ทุเลาอาการปวดได้ และถ้าผุลุกลามมาก อาจทำให้รากฟันอักเสบ และเป็นหนอง เหงือกบวม หรือแก้มบวมได้ ซึ่งระยะนี้ ไม่สามารถอุดฟันด้วยวิธีปกติทั่วไปได้ ต้องรักษาครองรากฟัน ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เวลารักษานาน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย บางครั้งอาจต้องสูยเสียฟัน เนื่องจากผุลุกลามมาก ไม่สามารถเก็บรักษาฟันซี่นั้นไว้ได้ ซึ่งจะมีผลกระทบด้านการบดเคี้ยว จะมีประสิทธิภาพลดลง และต้องใช้ฟันเทียม ซึ่งมีค้าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น
การป้องกัน
โรคฟันผุ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษา และป้องกันได้ โดยวิธีการกินยา เมื่อมีฟันผุ ก็ต้องรักษาด้วยการอุดฟัน หรือถอนฟันเท่านั้น ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุ เรามีวิธีปฏิบัติได้ด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ดังนี้
1. รักษาสุขภาพอนามัยช่องปากให้สะอาด ด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน ควรแปรงฟัน หลังรับประทานอาหารเสร็จทุกครั้ง หรือถ้าทำได้ไม่สะดวก ก็ใช้วิธีบ้วนน้ำแรงๆ หลายๆ ครั้ง
2. รับประทานอาหารที่ดี และมีประโยชน์ต่อฟัน เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหาร ที่ส่งเสริมให้ฟันผุได้ง่าย
3. ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง
4. ใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ และทำให้ฟันแข็งแรง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ร่วมกับการรับประทานยาน้ำ/ยาเม็ดฟลูออไรด์ (ในเด็ก) การอมน้ำยาฟลูออไรด์ ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
http://www.yourhealthyguide.com/article/at-decayed-tooth.html
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553
โรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ เกิดจากภาวะที่กรดยูริคในเลือด มีปริมาณสูงเกินไป เกินกว่าที่จะสามารถอยู่ในเลือด ในรูปสารละลายได้ จึงมีการตกตะกอน สะสมอยู่ตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าบริเวณอื่น เช่น ตามข้อ ทำให้ข้ออักเสบ หรือ ตามศอก นิ้ว ติ่งหู ตาตุ่ม หลังเท้า ทำให้เกิดปุ้มก้อนเกิดขึ้น
สาเหตุ
สาเหตุของเก๊าท์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกิน เป็นเวลานาน สำหรับผู้ชาย ระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตกตะกอนไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อ เมื่อกรดยูริคในเลือดสูงไป ประมาณ 10-20 ปีแล้ว
ยูริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์งดอาหารใดๆ ที่มียูริคสูงเลย และการกินอาหารที่มียูริคสูง (ที่คนทั่วไปเข้าใจกันเช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก) ก็ไม่ได้ทำให้ เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใด และเนื่องจากโรคเก๊าท์มักเป็นในผู้ป่วย ที่มีอายุค่อนข้างมาก ซึ่งมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารอีก จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารอะไรได้เลย (ยกเว้นไปกินแกลบ กินหญ้า) เป็นการทรมานผู้ป่วยเปล่าๆ
อาการ
อาการของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้สงสัยไว้ ก่อนว่าไม่ใช่เก๊าท์) โดยมากมักเป็นข้อเดียว และมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อยๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใดๆ ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น อาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้น หลายข้อมากขึ้น เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย
การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
1. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด
การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศ ที่ว่าให้กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวด หรือจนเกิดผลข้างเคียง คือท้องเสียนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกราย และมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4 เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้น้อยมาก ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบ เป็นรุนแรงขึ้นหายช้าลงได้
2. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้ การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่อง สม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ ละลายออกจนหมด ผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ • ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
การกินยาไม่สม่ำเสมอ กินๆ หยุดๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
• เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด
ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา
มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริค เมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้
http://www.yourhealthyguide.com/article/aj-gout-3.html
สาเหตุ
สาเหตุของเก๊าท์ เกิดเนื่องจากร่างกายมีกรดยูริคสูงเกิน เป็นเวลานาน สำหรับผู้ชาย ระดับยูริคจะสูงตั้งแต่ ในช่วงวัยรุ่น แต่ผู้หญิงด้วยฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จะไม่สูง แต่จะสูงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ระดับยูริคที่สูงจะไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะสะสมตกตะกอนไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีอาการทางข้อ เมื่อกรดยูริคในเลือดสูงไป ประมาณ 10-20 ปีแล้ว
ยูริคในเลือดที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายผลิตเอง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์งดอาหารใดๆ ที่มียูริคสูงเลย และการกินอาหารที่มียูริคสูง (ที่คนทั่วไปเข้าใจกันเช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก) ก็ไม่ได้ทำให้ เกิดโรคเก๊าท์แต่อย่างใด และเนื่องจากโรคเก๊าท์มักเป็นในผู้ป่วย ที่มีอายุค่อนข้างมาก ซึ่งมักจะมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องงดอาหารหวาน อาหารเค็มอยู่แล้ว การให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารอีก จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารอะไรได้เลย (ยกเว้นไปกินแกลบ กินหญ้า) เป็นการทรมานผู้ป่วยเปล่าๆ
อาการ
อาการของเก๊าท์ที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ มักเกิดที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า เป็นต้น โดยข้อที่อักเสบ จะบวม แดง ร้อน และปวดมาก ชัดเจน (ถ้าข้อที่ปวด ไม่บวม แดง ร้อน หรือมีอาการไม่ชัดเจนให้สงสัยไว้ ก่อนว่าไม่ใช่เก๊าท์) โดยมากมักเป็นข้อเดียว และมีอาการอักเสบอยู่ประมาณ 5-7 วัน อาการจะค่อยๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใดๆ ให้เห็น เมื่อข้ออักเสบขึ้นใหม่ จะมีอาการเช่นเดิมอีก อาการจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นมากขึ้น อาการข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้น หลายข้อมากขึ้น เป็นนานและรุนแรงขึ้น รวมทั้งเกิดปุ่มก้อนของยูริค สะสมมากขึ้น ผู้ป่วยระยะนี้มักมีไตวายร่วมด้วย
การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
1. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด
การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศ ที่ว่าให้กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวด หรือจนเกิดผลข้างเคียง คือท้องเสียนั้น ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกราย และมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4 เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้น้อยมาก ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบ เป็นรุนแรงขึ้นหายช้าลงได้
2. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้ การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่อง สม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ ละลายออกจนหมด ผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้ แต่ข้อควรระวังคือ • ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
การกินยาไม่สม่ำเสมอ กินๆ หยุดๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
• เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด
ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา
มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริค เมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้
http://www.yourhealthyguide.com/article/aj-gout-3.html
โรคไต
เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายมีขนาดประมาณกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของรูปร่างคล้ายถั่วแดงอยู่ด้านหลังทั้ง 2 ข้างของลำตัว ในแนวระดับของกระดูกซี่โครงล่าง (หรือเอง หรือเหนือระดับสะดือ) มีหน้าที่หลักในการขัดกรองของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากเลือด และยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมสมดุลของเกลือแร่ และกรดด่างในร่างกาย หลั่งฮอร์โมนช่วยควบคุมความดันโลหิต หลั่งฮอร์โมน ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และสร้างวิตามิน ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตหากไตไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เพียงพอ เนื่องจากได้รับบาเจ็บ หรือมีโรคแทรกจะทำให้ระดับของเสีย และปริมาณน้ำคั่งค้างในร่างกาย หรือในเลือด จะปรากฏอาการเหล่านี้ คือ ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ มีอาการบวมที่มือและเท้า ปวดหลังในระดับชายโครง ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย มีสาเหตุที่สำคัญมาจากเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ต้องรักษาโดยการล้างไต หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต หากรักษาโรคทั้งสองนี้ได้ก็จะทำให้โรคไตที่เกิดขึ้นทุเลา หรือชะลอการเปลี่ยนแปลงได้
การป้องกัน
การป้องกันมิให้เกิดโรคไตนั้นจะต้องมีการควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับปกติ ด้วยการควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจใช้ยาร่วมในการควบคุม และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สม่ำเสมอ สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะไตวาย คือ โรคไตอักเสบ ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายของหน่วยกรองไต การเกิดโรคนี้บางรายไม่ทราบสาเหตุ บางรายถ่ายทอดทางพันธุกรรม และบางรายมีการติดเชื้อเป็นสาเหตุเสริม นอกจากนี้ยังมีโรคไตที่เกิดจานิ่ว โรคถุงน้ำในไต โรคติดเชื้อ สารเคมี เช่น ตะกั่ว ปรอทจากยา เช่น ยาแก้ปวด จากสารเสพติด เช่น เฮโรอีน เป็นต้น อาการของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียการทำงานไปประมาณร้อยละ 90-95 สามารถทราบได้โดยการตรวจเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม โลหิตจาง เหนื่อยง่าย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-1.htm
การป้องกัน
การป้องกันมิให้เกิดโรคไตนั้นจะต้องมีการควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับปกติ ด้วยการควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจใช้ยาร่วมในการควบคุม และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สม่ำเสมอ สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะไตวาย คือ โรคไตอักเสบ ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายของหน่วยกรองไต การเกิดโรคนี้บางรายไม่ทราบสาเหตุ บางรายถ่ายทอดทางพันธุกรรม และบางรายมีการติดเชื้อเป็นสาเหตุเสริม นอกจากนี้ยังมีโรคไตที่เกิดจานิ่ว โรคถุงน้ำในไต โรคติดเชื้อ สารเคมี เช่น ตะกั่ว ปรอทจากยา เช่น ยาแก้ปวด จากสารเสพติด เช่น เฮโรอีน เป็นต้น อาการของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียการทำงานไปประมาณร้อยละ 90-95 สามารถทราบได้โดยการตรวจเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม โลหิตจาง เหนื่อยง่าย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-1.htm
โรคหัวใจ
โดยทุกๆ วัน หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน
• วงจรการไหลเวียนของเลือด : จะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัวตามมาไล่เลือดที่เป็นเลือดดำออกไปฟอกที่ปอด โดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอดโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็กๆ ที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือดที่เป็นเลือดแดงจะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดจะไหลจากห้องซ้ายบนมาห้องซ้ายล่าง โดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral) เมื่อเลือดแดงอยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยงร่างกายทางหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติด (Aortic) เมื่อผ่านส่วนต่างๆ แล้ว เลือดจะกลับสู่หัวใจด้านขวาอีกครั้ง
โรคลิ้นหัวใจ ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ลิ้นหัวใจพิการ รูมาห์ติค ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อคออักเสบ ลักษณะของการที่เกิด คือ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง อ่อนเพลีย ไอเรื้อรังและมักไอเวลากลางคืน ไอแห้ง มีอาการใจสั่น ไอเป็นเลือด เป็นลมไม่รู้สติ เจ็บหน้าอก หลอดเลือดที่คอเต้นแรง ผอมแห้ง มีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ การตรวจเอ็คโค่ (Echo) จะช่วยบอกถึงรายละเอียดของความผิดปกติของหัวใจได้
โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ : กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือคลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น
อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด
1. เจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอกอาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน และมักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2. อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
3. ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หลังอาหาร
4. กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริหรือฉีก
ขาบวม : อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ (โซเดียม) และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไตขับเกลือไม่ได้ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน การไหลเวียนไม่สะดวก ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือในบางรายอาจไม่พบสาเหตุ การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างที่ขามากขึ้น
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ เป็นผลมาจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังของหลอดเลือดแดง ภาวะนี้เป็นความเสื่อมของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแดงเสียความยืดหยุ่น เกิดการตีบตัน ผลที่ตามมาคือ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน เกิดอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ ทำให้เกิดอัมพาต เป็นต้น
หากคุณมีโอกาสลองคลำหลอดเลือดแดงหรือชีพจรที่ข้อศอกด้านในหรือข้อมือของผู้สูงอายุจะพบว่า เป็นเส้นแข็งไม่ยืดหยุ่นเหมือนวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้เนื่องจากว่าหลอดเลือดแดงเหล่านี้เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุ มีไขมันและหินปูน (แคลเซียม) เข้าไปสะสมอยู่ตามผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นและแข็ง ซึ่งหินปูนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณแคลเซียมในเลือดหรืออาหารที่เรารับประทาน ความจริงแล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการเสื่อม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บุหรี่ เป็นต้น แต่ “ อายุ ” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากและเราไม่อาจเลี่ยงได้ หลอดเลือดแดงที่เสื่อมนี้จะเกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ไต ฯลฯ และแน่นอนเมื่อเกิดการเสื่อมก็จะเกิดการตีบตันของหลอดเลือดเล็กๆ ตามมา เป็นผลให้เลือดเลี้ยงสมองลดลง เกิดเนื้อสมองตายเป็นบางส่วน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ไตเสื่อม
ความดันโลหิตสูง : สาเหตุของการที่ความดันโลหิตสูงพบบ่อยเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ บางส่วนเป็นผลจากการที่ไตขาดเลือดไปเลี้ยง การลดความดันโลหิตที่สูงลง ก็จะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตและลดปัญหาจากโรคหัวใจขาดเลือดด้วย ความดันโลหิตในผู้ใหญ่ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม ควรจะน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
หัวใจเต้นผิดจังหวะ : หัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อย คือ จากห้องบนหรือที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) ชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด โรคความดันโลหิตสูง และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้ อาจเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองได้ และเป็นต้นเหตุของการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด : อายุ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ ไขมัน โคเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง ความเครียด เบาหวาน ถ้าหากมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดโรคก็มากขึ้นเป็นทวีคูณ
http://www.yourhealthyguide.com/article/ah-genernal.htm
• วงจรการไหลเวียนของเลือด : จะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัวตามมาไล่เลือดที่เป็นเลือดดำออกไปฟอกที่ปอด โดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอดโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็กๆ ที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือดที่เป็นเลือดแดงจะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดจะไหลจากห้องซ้ายบนมาห้องซ้ายล่าง โดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral) เมื่อเลือดแดงอยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยงร่างกายทางหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติด (Aortic) เมื่อผ่านส่วนต่างๆ แล้ว เลือดจะกลับสู่หัวใจด้านขวาอีกครั้ง
โรคลิ้นหัวใจ ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ลิ้นหัวใจพิการ รูมาห์ติค ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อคออักเสบ ลักษณะของการที่เกิด คือ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง อ่อนเพลีย ไอเรื้อรังและมักไอเวลากลางคืน ไอแห้ง มีอาการใจสั่น ไอเป็นเลือด เป็นลมไม่รู้สติ เจ็บหน้าอก หลอดเลือดที่คอเต้นแรง ผอมแห้ง มีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ การตรวจเอ็คโค่ (Echo) จะช่วยบอกถึงรายละเอียดของความผิดปกติของหัวใจได้
โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ : กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือคลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น
อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด
1. เจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอกอาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน และมักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2. อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
3. ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หลังอาหาร
4. กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริหรือฉีก
ขาบวม : อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ (โซเดียม) และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไตขับเกลือไม่ได้ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน การไหลเวียนไม่สะดวก ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือในบางรายอาจไม่พบสาเหตุ การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างที่ขามากขึ้น
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ เป็นผลมาจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังของหลอดเลือดแดง ภาวะนี้เป็นความเสื่อมของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทำให้หลอดเลือดแดงเสียความยืดหยุ่น เกิดการตีบตัน ผลที่ตามมาคือ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน เกิดอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ ทำให้เกิดอัมพาต เป็นต้น
หากคุณมีโอกาสลองคลำหลอดเลือดแดงหรือชีพจรที่ข้อศอกด้านในหรือข้อมือของผู้สูงอายุจะพบว่า เป็นเส้นแข็งไม่ยืดหยุ่นเหมือนวัยหนุ่มสาว ทั้งนี้เนื่องจากว่าหลอดเลือดแดงเหล่านี้เกิดการเสื่อมสภาพตามอายุ มีไขมันและหินปูน (แคลเซียม) เข้าไปสะสมอยู่ตามผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นและแข็ง ซึ่งหินปูนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณแคลเซียมในเลือดหรืออาหารที่เรารับประทาน ความจริงแล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการเสื่อม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน บุหรี่ เป็นต้น แต่ “ อายุ ” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากและเราไม่อาจเลี่ยงได้ หลอดเลือดแดงที่เสื่อมนี้จะเกิดขึ้นทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ไต ฯลฯ และแน่นอนเมื่อเกิดการเสื่อมก็จะเกิดการตีบตันของหลอดเลือดเล็กๆ ตามมา เป็นผลให้เลือดเลี้ยงสมองลดลง เกิดเนื้อสมองตายเป็นบางส่วน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย ไตเสื่อม
ความดันโลหิตสูง : สาเหตุของการที่ความดันโลหิตสูงพบบ่อยเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็งตัวผิดปกติ บางส่วนเป็นผลจากการที่ไตขาดเลือดไปเลี้ยง การลดความดันโลหิตที่สูงลง ก็จะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตและลดปัญหาจากโรคหัวใจขาดเลือดด้วย ความดันโลหิตในผู้ใหญ่ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม ควรจะน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
หัวใจเต้นผิดจังหวะ : หัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อย คือ จากห้องบนหรือที่เรียกว่า atrial fibrillation (AF) ชนิดนี้พบได้ในผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด โรคความดันโลหิตสูง และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ในผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติชนิดนี้ อาจเกิดลิ่มเลือดเล็กๆ ขึ้นภายในหัวใจ ลิ่มเลือดเล็กๆ เหล่านี้อาจหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดเลี้ยงสมองได้ และเป็นต้นเหตุของการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด : อายุ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ ไขมัน โคเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง ความเครียด เบาหวาน ถ้าหากมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดโรคก็มากขึ้นเป็นทวีคูณ
http://www.yourhealthyguide.com/article/ah-genernal.htm
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุขพบว่า ปัจจุบันคนที่วัย 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นเบาหวานมากถึง 2.4 ล้านคน และที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือผู้ที่เข้ารับการรักษากว่าครึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าป่วยเป็นเบาหวาน
ลองทำแบบทดสอบดูว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากน้อยเพียงใด โดยทำเครื่องหมาย ถูก ที่หน้าหัวข้อนั้นๆ หากตรงกับสภาพและอาการของตน...
• คุณมีอายุมากกว่า 35 ปี • มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
• ชอบกินของหวานๆ มันๆ • หิวบ่อย ทานจุ
• ออกกำลังกายน้อย • กระหายน้ำบ่อย
• อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย • ตาพร่า มองไม่ชัด
• ความดันโลหิตสูง • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
• ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
• ชาตามปลายมือปลายเท้า • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ
หากคุณตอบว่าใช่เป็นส่วนใหญ่แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องรีบบำบัดรักษาก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
เบาหวานคืออะไร
เบาหวานเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตรวมถึงโปรตีนและไขมันบางส่วนได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น หัวใจวาย ตาบอด ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคติดเชื้อ เป็นต้น
เบาหวานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
เบาหวานชนิดที่ 1 หรือเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ เบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กและวัยรุ่น ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
เบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่สร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ แต่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ
ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานมีอะไรบ้าง
• ตา อาจเป็นต้นกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
• ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจะเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลาย
• เท้า ซึ่งมักจะทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่ายและอาจลุกลามจนเท้าเน่า กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ กระเพาะอาหารไม่ทำงาน มีอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเดิน โดยเฉพาะเช้ามือถึงก่อนเที่ยง ผู้ป่วยชายมักมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
• ไต มักเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
• ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ถ้าหลอดเลือดแดงที่เท้าแข็งและตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือนิ้วเท้าเป็นเนื้อตายเน่า
• ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรคปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลาก โรคเชื้อชา เป็นฝีหรือพุพองบ่อย นิ้วเท้าหรือช่องคลอดอักเสบ เป็นต้น
• แผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีภาวะปลายประสาทอักเสบ และภาวะขาดเลือดทำให้เท้าชาเกิดแผลได้ง่ายและหายยากหรือเป็นเนื้อตายเน่า บางครั้งจำเป็นต้องตัดนิ้วหรือตัดขา ทำให้เกิดภาวะพิการได้
ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเสียชีวิตจากโรคหัวใจ
ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่าและรุนแรงกว่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้ผนังหลอดเลือดแดง ทั้งรายการเกิดความผิดปกติและเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น
โรคเหล่านี้จะเร่งให้โครงสร้างและสภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกติมากขึ้นและเร็วขึ้น หลอดเลือดหัวใจจึงเกิดการอักเสบ ทำให้คราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีการแตกออก ซึ่งจะทำให้เกิดลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน
อาการโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานจะแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไปอย่างไร
สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีพในผู้ป่วยเบาหวานอาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกในผู้ป่วยเบาหวานเสื่อมสภาพลง จึงมักจะมีแค่อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่น จุกเสียดหน้าอกเหมือนอาหารไม่ยอม วิงเวียน ตัวเย็น เหงื่อออก ใจสั่นรู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาการเหล่านี้อาจมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันและอาจเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้
วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน
เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวานมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะพิการและมีอันตรายถึงชีวิต การบำบัดโรคเบาหวานของการแพทย์จีนจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังเน้นความสำคัญกับการรักษาต้นเหตุและโรคแทรกซ้อนของเบาหวานไปพร้อมๆ กัน ดังนี้
• ทำความสะอาดและทะลวงหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด ดังทฤษฎีการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด จึงป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ปรับความสมดุลของร่างกายโดยเฉพาะความสมดุลของตับและตับอ่อน ทำให้มีการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลและอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม และเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลแล้วก็จะตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างปกติ จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• บำรุงรักษาไตที่เสื่อมลงให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากไตเสื่อมทำให้เกิดโรคเบาหวาน แต่เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วก็จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นจนเกิดภาวะไตวายซึ่งเป็นวัฏจักรที่เลวร้าย การบำรุงรักษาไตจึงมีบทบาทสำคัญในการบำบัดฟื้นฟูโรคเบาหวานด้วย
ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อใช้วิธีบำบัดรักษาแบบองค์รวมควบคู่กับการปฎิบัติตัวอย่างถูกต้อง อาการต่างๆ ของเบาหวานจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด
http://www.yourhealthyguide.com/article/ad-diabete-1.htm
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณะสุขพบว่า ปัจจุบันคนที่วัย 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นเบาหวานมากถึง 2.4 ล้านคน และที่น่าเป็นห่วงกว่านั้นคือผู้ที่เข้ารับการรักษากว่าครึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าป่วยเป็นเบาหวาน
ลองทำแบบทดสอบดูว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากน้อยเพียงใด โดยทำเครื่องหมาย ถูก ที่หน้าหัวข้อนั้นๆ หากตรงกับสภาพและอาการของตน...
• คุณมีอายุมากกว่า 35 ปี • มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคเบาหวาน
• ชอบกินของหวานๆ มันๆ • หิวบ่อย ทานจุ
• ออกกำลังกายน้อย • กระหายน้ำบ่อย
• อ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย • ตาพร่า มองไม่ชัด
• ความดันโลหิตสูง • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
• ปวด แน่น จุกเสียดหน้าอก • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
• ชาตามปลายมือปลายเท้า • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ
หากคุณตอบว่าใช่เป็นส่วนใหญ่แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องรีบบำบัดรักษาก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป
เบาหวานคืออะไร
เบาหวานเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตรวมถึงโปรตีนและไขมันบางส่วนได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น หัวใจวาย ตาบอด ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคติดเชื้อ เป็นต้น
เบาหวานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
เบาหวานชนิดที่ 1 หรือเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ เบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กและวัยรุ่น ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
เบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่สร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ แต่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ
ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
โรคแทรกซ้อนของเบาหวานมีอะไรบ้าง
• ตา อาจเป็นต้นกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
• ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจะเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลาย
• เท้า ซึ่งมักจะทำให้มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่ายและอาจลุกลามจนเท้าเน่า กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่มีแรงเบ่งปัสสาวะ กระเพาะอาหารไม่ทำงาน มีอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเดิน โดยเฉพาะเช้ามือถึงก่อนเที่ยง ผู้ป่วยชายมักมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
• ไต มักเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่พบได้ค่อนข้างบ่อย
• ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ถ้าหลอดเลือดแดงที่เท้าแข็งและตีบ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว ปวดขณะเดินมากๆ หรืออาจทำให้เป็นแผลหายยากหรือนิ้วเท้าเป็นเนื้อตายเน่า
• ภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เช่น วัณโรคปอด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ กลาก โรคเชื้อชา เป็นฝีหรือพุพองบ่อย นิ้วเท้าหรือช่องคลอดอักเสบ เป็นต้น
• แผลที่เท้า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีภาวะปลายประสาทอักเสบ และภาวะขาดเลือดทำให้เท้าชาเกิดแผลได้ง่ายและหายยากหรือเป็นเนื้อตายเน่า บางครั้งจำเป็นต้องตัดนิ้วหรือตัดขา ทำให้เกิดภาวะพิการได้
ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเสียชีวิตจากโรคหัวใจ
ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอายุที่น้อยกว่าและรุนแรงกว่า เนื่องจากระดับน้ำตาลที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้ผนังหลอดเลือดแดง ทั้งรายการเกิดความผิดปกติและเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีโรคอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น
โรคเหล่านี้จะเร่งให้โครงสร้างและสภาพของหลอดเลือดเกิดความผิดปกติมากขึ้นและเร็วขึ้น หลอดเลือดหัวใจจึงเกิดการอักเสบ ทำให้คราบไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีการแตกออก ซึ่งจะทำให้เกิดลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้ป่วยเบาหวาน
อาการโรคหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานจะแตกต่างจากผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไปอย่างไร
สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีพในผู้ป่วยเบาหวานอาการเจ็บหน้าอกมักจะไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย เนื่องจากประสาทรับความรู้สึกในผู้ป่วยเบาหวานเสื่อมสภาพลง จึงมักจะมีแค่อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ แน่น จุกเสียดหน้าอกเหมือนอาหารไม่ยอม วิงเวียน ตัวเย็น เหงื่อออก ใจสั่นรู้สึกคล้ายจะเป็นลม อาการเหล่านี้อาจมีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพร้อมกันและอาจเกิดขึ้นในเวลาใดก็ได้
วิธีการบำบัดแบบองค์รวมของการแพทย์จีน
เป็นที่ทราบกันว่าโรคเบาหวานมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะพิการและมีอันตรายถึงชีวิต การบำบัดโรคเบาหวานของการแพทย์จีนจึงไม่ได้หยุดอยู่แค่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังเน้นความสำคัญกับการรักษาต้นเหตุและโรคแทรกซ้อนของเบาหวานไปพร้อมๆ กัน ดังนี้
• ทำความสะอาดและทะลวงหลอดเลือด สลายลิ่มเลือดและไขมัน ทำให้หลอดเลือดโล่งสะอาด ดังทฤษฎีการวินิจฉัยและรักษาอันสำคัญของการแพทย์จีน ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด จึงป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ปรับความสมดุลของร่างกายโดยเฉพาะความสมดุลของตับและตับอ่อน ทำให้มีการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลและอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสม และเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลแล้วก็จะตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างปกติ จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• บำรุงรักษาไตที่เสื่อมลงให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากไตเสื่อมทำให้เกิดโรคเบาหวาน แต่เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วก็จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นจนเกิดภาวะไตวายซึ่งเป็นวัฏจักรที่เลวร้าย การบำรุงรักษาไตจึงมีบทบาทสำคัญในการบำบัดฟื้นฟูโรคเบาหวานด้วย
ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้ถูกสุขลักษณะ พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อใช้วิธีบำบัดรักษาแบบองค์รวมควบคู่กับการปฎิบัติตัวอย่างถูกต้อง อาการต่างๆ ของเบาหวานจึงค่อยๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด
http://www.yourhealthyguide.com/article/ad-diabete-1.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)