วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผาแต้ม

มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร ได้ รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และเนิน เขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะ แปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ มีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน

การเดินทางจากอำเภอโขงเจียมใช้ เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้ม อีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจาก โขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่






-----------------------------------------------------------------

เสาเฉลียง
อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 3 กม. เป็นหินตั้งซ้อนกันโดยธรรมชาติ มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในแผ่นดินขนาดใหญ่ ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เสาเฉลียง >>>






-----------------------------------------------------------------

ลานหินแตก
ประติมากรรมทางธรรมชาติอีกชิ้น จากการซึกกร่อนโดยพลังน้ำและความร้อนทางธรรมชาติ
อยู่เลยจากเสาเฉลียงไปทางด้านหลัง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ลานหินแตก >>>





-----------------------------------------------------------------

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
เปิด 08.00-16.30 น.
ไทยทัวร์แนะนำให้นักท่องเที่ยวพักเหนื่อยพร้อมเรียนรู้ข้อมูลอุทยานฯก่อนเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ
ศูนย์บริการฯอยู่ใกล้ลานจอดรถ เป็นอาคารปูนชั้นเดียว มีห้องโถงจัดแสดงภูมิประเทศของ อุทยานฯ และสัตว์ป่า มีรูปภาพสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น น้ำตก ลานดอกไม้ จำหน่ายของที่ระลึก ด้านหลังเป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงาม
เราสามารถของแผนที่เดินเท้าไปชมภาพเขียนสีโบราณได้ อย่างน้อยก็รู้ว่าเราเองสามารถเดินไปชมได้มากน้อยแค่ไหน เพราะภาพเขียนสีโบราณแต่ละจุดไม่ใกล้กันเลย

อ่านรายละเอียดและรูปภาพเพิ่มเติม ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว >>>





-----------------------------------------------------------------

ภาพเขียนโบราณ
บริเวณด้านล่างของผาแต้มมีภาพเขียนสี ก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏเรียงรายอยู่เป็นระยะ มีอายุไม่ต่ำกว่าสามพันถึงสี่พันปี ทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินจากหน้าผาด้านบนลงไปชมภาพเขียนสีเหล่านี้ที่หน้าผาด้านล่าง ระยะทางประมาณ 500 เมตร ภาพเขียนจะอยู่บนผนังหน้าผายาวติดต่อกันประมาณ 180 เมตร ซึ่งเป็นมุมต่ำกว่า 90 องศา มีภาพทั้งหมด ประมาณ 300 ภาพ แบ่งเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ภาพคนทำนา ภาพสัตว์ ภาพมือ ภาพลายเรขาคณิต และภาพตุ้ม (เครื่องมือจับปลาของชาวประมงริมโขง)

ด้านตรงข้ามผา แต้มคือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะชม พระอาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทย ในบริเวณดังกล่าวในลักษณะเดียวกันกับที่หมู่บ้านเวินบึกที่ตั้ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงไม่ไกลจากบริเวณแม่น้ำสองสีมากนัก ซึ่งทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปท่อง เที่ยวเป็นจำนวนมาก

ภาพเขียนโบราณแบ่งเป็น 4 ชุดใหญ่ๆ ชุดที่สวยและชัดเจนที่สุดคือ ชุดที่ 2 คลิกอ่านและดู ภาพเขียนสีโบราณ






-----------------------------------------------------------------

ถ้ำมืด
ตั้งอยู่ที่บ้านซะซอม ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านทุ่งนาเมือง ประมาณ15 กิโลเมตร เป็นถ้ำขนาดกว้าง 4 เมตร สูง 6 เมตร ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปแกะสลัก เรียงรายกันมากมาย แสดงว่าคงจะเคยใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนามาก่อน


-----------------------------------------------------------------

น้ำตกสร้อยสวรรค์
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากตัวอำเภอโขงเจียมประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ไหลจากหน้าผาสูงชันสองด้านสูงประมาณ 20 เมตร มองดูคล้ายสร้อยที่ แขวนอยู่ในคอ มีน้ำไหลตลอดปี บริเวณน้ำตกเต็มไปด้วยต้นไม้และดอกไม้นานาพันธุ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>> น้ำตกสร้อยสวรรค์






-----------------------------------------------------------------


น้ำตกทุ่งนาเมือง
ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2112 ห่างจากน้ำตกสร้อยสวรรค์ ประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นน้ำตก ขนาดกลางที่มีความสวยงาม และอยู่ใกล้เส้นทางน้ำไหลลดหลั่นลงมาตามโขดหิน ชั้น บนสูงสุดประมาณ 25 เมตร บริเวณโดยรอบมีดอกไม้ต่างๆ มากมาย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>> น้ำตกทุ่งนาเมือง




.....................................................................

น้ำตกแสงจันทร์ (น้ำตกรู)

อยู่ห่างจากน้ำตกทุ่งนาเมืองเพียง 1 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2112 เป็นน้ำตกที่มี ความสวยงามและมีลักษณะพิเศษ คือ น้ำจะตกลงผ่านปล่องหินสู่เบื้องล่าง มองดูคล้ายแสงจันทร์ซึ่งเต็มดวงลาดส่องมายังพื้นโลก บริเวณโดยรอบมีโขดหินน้อยใหญ่เรียงรายกันอยู่ และมีต้นไม้ นานาพันธุ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>> น้ำตกแสงจันทร์




.....................................................................

นอกจากนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีก ได้แก่ ผาเจ็ก ผาเมย ภูนาทาม ภูโลง สวนหิน ภูกระบอ ภูจ้อมค้อม น้ำตกห้วยพอก ฯลฯ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สวยงาม เหมาะสำหรับการเดินทาง ท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่า

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ยังไม่มีบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้ประสงค์จะค้างแรมในเขตอุทยาน แห่งชาติผาแต้มต้องเตรียมอุปกรณ์การพักแรมมาเอง และต้องกางเต๊นท์ ในที่ซึ่งอุทยานฯ จัดเตรียมไว้ให้

http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/ubon/data/place/npk_pataem.htm

แม่น้ำสองสี ที่อุบลราชธานี

แม่น้ำสองสี

หรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม อยู่ห่างจากจังหวัด อุบลราชธานี 84 กม. จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่ง แม่น้ำมูล แม่น้ำโขงหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่ เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชม ทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำ หรือซื้อของที่ระลึก ที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวอีกด้วย

http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/ubon/data/place/two-color-river.html

ทุ่งศรีเมือง, อุบลราชธานี

ทุ่งศรีเมือง, อุบลราชธานี




ทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม มีประตูทางเข้า 4 ทิศ 4 ประตู คือ อุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์ และอุบลกิจประชากร ภายในสวนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ คือ

อภิมหาเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ พระสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 และเป็นที่หล่อหลอมจิตศรัทธาของชาวอุบลราชธานีให้เป็นหนึ่งเดียว

ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี เป็นสถานที่สักการะของชาวเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือน ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2515

อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลฯ

ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์แห่งภาคอีสาน

ปฏิมากรรมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ

อนุสาวรีย์แห่งความดี (Monument of Merit) เป็นเชลยศึกชาวต่างประเทศ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณี และคุณงามความดีของชาวเมืองอุบลาชธานี

ปฏิมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรม กับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึง ความสมานฉันท์แห่งความเป็นพี่น้องระหว่าง 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

ทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นปอดแห่งใหญ่ที่สำคัญของคนเมืองอุบลฯ เทศบาลนครอุบลฯ ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบมีความร่มรื่นสวยงาม กำหนดเป็นเขตปลอดมลภาวะ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และใช้ออกกำลังกาย สำหรับชาวอุบลฯ และนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

http://www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/ubon/data/place/pic_thungsrimuang.htm

การจัดสวน

การจัดสวน หมายถึง การจัดสภาพ หรือตกแต่งสถานที่ ให้เหมาะสมสวยงาม ทำให้สภาพแวดล้อม บรรยากาศน่าอยู่ และเอื้อประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ

ความสำคัญและประโยชน์ในการจัดสวน

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การออกแบบจัดสวน
คือการจะทำให้สวนมีความสวยงาม จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ค่อนข้างจะสูงมาก ในเรื่องของการออกแบบ นอกจากนี้ สวนสวย ไม่ใช่ว่า สวนจะอยู่ได้นาน จะต้องดูว่าสวนสวย จะต้องมีการดูแลรักษาที่ดี เพื่อให้เขามีชีวิต ที่อยู่ได้ยาวนาน ด้วย หลักการออกแบบ จึงมีความ จำเป็น ต่อการจัดสวนมาก เพราะถือว่าการออกแบบ การเขียนแบบ เป็นจุดเริ่มต้น ของงาน การออกแบบ ที่ดีต้องอาศัยความรู้อยู่ 2 อย่างด้วยกัน

http://www.novabizz.com/CDC/Garden.htm

อุบลฯ ผวาน้ำท่วมหนัก

อุบลฯ ผวาน้ำท่วมหนัก หลังปริมาณน้ำจากแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลซึ่งไหลมาจากจังหวัดต่าง ๆ จะมาบรรจบกันต้นเดือนหน้า เพื่อลงสู่แม่น้ำโขง ผู้ว่าฯ เร่งหามาตรการป้องกันแล้ว

จากสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา เรื่อยมาจนถึงจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลให้เขื่อนต่าง ๆ รวมทั้งปริมาณน้ำในแม่น้ำสายต่าง ๆ ที่ไหลผ่านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะลำน้ำมูล ลำน้ำชี ลำน้ำปาว มีระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งปริมาณน้ำอันมหาศาลเหล่านี้จะไหลไปรวมตัวกันที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อลงสู่แม่น้ำโขงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีรับสั่งให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เร่งออกไปหามาตรการเตรียมรับมือน้ำท่วมใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งปริมาณน้ำจากหลายสายจะเข้าท่วมหนักยิ่งกว่าน้ำท่วมโคราช หรือน้ำท่วมในลุ่มภาคกลาง

ทั้งนี้ นายคุณพจน์ บัวโทน วิศวกรชำนาญการพิเศษ ศูนย์เมขลา กรมทรัพยากรน้ำ กล่าว่า น้ำจากลำน้ำมูลที่ไหลจากจังหวัดนครราชสีมา ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ จะไปถึงจังหวัดศรีสะเกษในวันที่ 31 ต.ค. และจะเข้าถึงจังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 2 พ.ย. จุดสูงสุดอยู่ที่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีอัตราไหลของน้ำ 2,660 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่ลำน้ำจะรับได้ที่ 2,410 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเท่านั้น จึงส่งผลให้เกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งในบริเวณดังกล่าว ก่อนที่น้ำไหลผ่านไปยังแก่งสะพือลงสู่แม่น้ำโขง

ขณะที่ลำน้ำชีซึ่งจะไหลมาจากจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ยโสธร จะไหลเข้า จังหวัดอุบลราชธานีประมาณวันที่ 5 พ.ย. คาดว่าจะมีอัตราไหลอยู่ที่ 1,121 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และจะมาบรรจบกับก้อนน้ำมูลซึ่งไหลมาถึงจังหวัดอุบลราชธานีก่อนหน้านี้ โดยที่ไหลลงสมทบกันที่ อ.เมืองอุบลราชธานี ก่อนจะผ่านไปลงแม่น้ำโขงที่ อ.โขงเจียม จึงน่าเป็นห่วงว่า ปริมาณน้ำจะมีมากถึง 4,000 กว่าลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีจนเกิดการระบายน้ำไม่ทัน อย่างไรก็ตาม ยังนับว่าโชคดีเล็กน้อย ที่ก้อนน้ำจากลำน้ำมูล และลำน้ำชี จะลงมาสมทบที่จังหวัดอุบลราชธานีคนละวันกัน ซึ่งหากมีการจัดการบริหารน้ำให้ดี จะช่วยบรรเทาวิกฤตการณ์น้ำท่วมหนักในอุบลราชธานีไปได้บ้าง แต่สิ่งที่น่าเป็นกังวลก็คือ หากมีฝนตกลงมาจะยิ่งบริหารจัดการน้ำได้ยากขึ้น

ขณะที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ได้สั่งให้ทาง จ.อุบลราชธานี เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลังน้ำจะไหลมาบรรจบกันและก่อให้เกิดปัญหาที่ อ.วารินชำราบ

ด้านนายสุรพล สายพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ สำรวจระดับน้ำในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง พบว่า น้ำได้ไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกร ส่วนชุมชนริมฝั่งแม่น้ำมูล ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ในเขตเทศบาลวารินชำราบแล้ว โดยเฉพาะจุดที่แม่น้ำชี และแม่น้ำมูลที่มาบรรจบกันที่บริเวณบ้านวังยาง ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โดยได้อพยพประชาชนบางส่วนที่อยู่ริมฝั่งแล้ว

นอกจากนี้ มอบหมายให้องค์การต่าง ๆ ทั้งจังหวัดอุบลราชธานี เตรียมดำเนินการผันน้ำไปเก็บไว้เป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อเป็นการพร่องน้ำในแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ให้สามารถรับน้ำจากนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ ได้มากขึ้น โดยเตรียมผันน้ำออกจากแม่น้ำมูล 2 จุด คือ ที่บริเวณบ้านป่ากุดหวายลงแก้มลิง และ ผันน้ำบริเวณอำเภอพิบูลมังสาหาร เพื่อให้ระดับน้ำมูลลดลง ก่อนที่น้ำจะไหลมาถึงตัวเมืองอุบลราชธานี

นอกจากนี้ ขอให้นายอำเภอ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ที่อยู่ในเขตแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ไหลผ่านในอำเภอเขื่อนใน เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ พิบูลมังสาหาร และสิรินธร เร่งดำเนินการอพยพประชาชนเตรียมรับน้ำ คาดว่าจะมาถึงจังหวัดอุบลราชธานีประมาณอีก 6 วัน

http://esanclick.com/News-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A5-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-23924.html