วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเป็นมาของเมืองโบราณ

เมืองไทยในอดีต เป็นแหล่งปลูกจิตสำนึกทางวัฒนธรรมไทยเป็น...สิ่งบอกเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย เมืองโบราณ คือเมืองไทยในอดีต ที่ประกอบด้วยท้องถิ่นและภูมิภาคต่าง ๆ ที่มีความ หลากหลายทางด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยใช้พื้นที่เกือบ ๖๐๐ ไร่ รูปร่างคล้ายแผน ที่ประเทศไทย กำหนดเป็นจังหวัดและภาคต่าง ๆ คือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงด้วยรูปแบบสถาปัตย์กรรมอันเป็น สัญญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ของแต่ละแห่ง บางแห่งเป็นศิลปกรรม ดั้งเดิมที่เมืองโบราณได้ย้ายนำมาปลูกสร้างไว้ บางแห่งสร้างขึ้นจากหลักฐานเอกสาร ดั้งเดิม และบางแห่งได้ถ่ายแบบจากสถานที่จริงมาก่อสร้างขึ้น ศิลปกรรมต่าง ๆ ที่มี อยู่ในเมืองโบราณนั้น เป็นโครงสร้างทางรูปธรรมนำมาซึ่งความหมาย และความเข้าใจ ที่เป็นนามธรรมของสังคมไทย โครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง รวมถึงระบบ ความเชื่อ และจักรวาล การเข้าชมเมืองโบราณจะทำให้เข้าใจถึงพัฒนาการทางสังคมและความหลากหลายทาง วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาคของประเทศไทย ที่สามารถผสมผสานกันได้อย่าง ลงตัว เมืองโบราณ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมไทยซึ่งมีสมดุลยภาพ ไม่เน้น ความต้องการทางด้านวัตถุและจิตใจจนเกินเลยไป ขณะเดียวกันศิลปกรรมและสภาพแวดล้อมด้วยบรรยากาศทางวัฒนธรรม จะทำให้ ผู้เข้าชมเห็นถึงความต่างระดับกันทางสังคมและวัฒนธรรม ในแต่ละภูมิภาค ในเมือง โบราณ มีทั้งบริวาณทีเป็นเขตพระราชฐาน สะท้อนให้เห็นถึงระบบการปกครองใน สังคมไทย อันมีพระมหากษัตริย์ หรือพระรมราชวัง เป็นศูนย์กลางการปกครอง เมืองโบราณจึงได้สร้าง พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ท้องพระโรงพระเจ้ากรุงธนบุรี พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และหอพระแก้วขึ้น องค์พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นองค์ สมมุติเทพ ทรงประพฤติพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภก และทรงเป็นธรรมราชาที่ ทะนุบำรุงพระศาสนา ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ที่พำนักของชนชั้นสูง เรือนไทยของคหบดี ขุนนางผู้ใหญ่ และเจ้านาย เช่น เรือนต้น เรือนไทย ทวารวดี คุ้มขุนแผน และหอคำ สยามประเทศเป็นสังคมเกษตรกรรม ปลูกข้าวเป็นอาหารหลัก การปลูกข้าวทำให้ เกิดชุมชนที่อยู่ติดกัน และมีพัฒนาการเป็นบ้านเมือง รัฐ และอาณาจักรตามลำดับ เมืองโบราณ

">

ประวัติดวงเมืองกรุงเทพ

ประวัติดวงเมืองกรุงเทพ



เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เป็นวันที่ถือว่าเป็นวันเกิดของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งการทำพิธีวางฤกษ์อย่างใหญ่โตตามพิธีสร้างเมืองสำหรับท้าวพระยามหากษัตริย์ วันนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งทรงเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยมหาสมณะชีพราหมณ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของชนชาติไทยได้เข้ามาร่วมทำพิธีกันเป็นเวลา 4 วัน 4 คืน

ตามประเพณีของการสร้างเมืองนั้น มีคำบอกกล่าวกันมาว่าที่หลุมฝังเสาหลักเมืองนั้นจะต้องฆ่าคนที่มีชื่อตามโฉลก คือ อิน, จัน, มั่น, คง เพื่อทำหน้าที่รักษาเมืองให้มีความรุ่งเรืองมั่นคง แต่ในหลุมฝังเสาหลักเมืองวันนั้นไม่มีคนที่มีชีวิตถูกนำไปสังเวยไว้ในหลุมตามที่เล่าลือกัน เป็นแต่มี งูเล็ก 4 ตัว ไปนอนฝังตัวอยู่ก้นหลุมโดยไม่มีใครเห็น จนกระทั่งหย่อนเสาลงไปในหลุม และถึงเวลากลบเสาแล้วจึงปรากฏว่างูเล็กทั้ง 4 ตัวนั้นเลื้อยอยู่ที่ก้นหลุม และโดยไม่มีทางแก้ไขอะไรได้ เพราะพิธีการต่างๆ ได้กระทำเสร็จสิ้นลงไปแล้ว ก็จำเป็นต้องกลบดินลงไปจนไม่คำนึงถึงงูทั้ง 4 ตัวนั้นอีกต่อไป

แต่ทั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ขุนโหรและผู้รู้ทั้งสมณะชีพราหมณ์ทั้งหมดก็ได้เห็นได้รู้กันว่า นั่นเป็นเรื่องอาถรรพณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อบอกกล่าวว่าจะต้องมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับบ้านเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น แต่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ไม่มีใครรู้ แม้แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ไม่อาจจะทำนายได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น?

แต่เรื่องราวในวันนั้นได้ถูกบันทึกไว้ในเอกสารที่มีชื่อว่า จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี มีข้อความว่า ;

"ณ วันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 1 ค่ำ ปีระกาเอกศก เวลาบ่าย 3 โมง 6 บาท อสุนีบาติพาดสายตกติดหน้าบันมุขเด็จเบื้องทิศอุดร ไหม้ตลอดทรงบนปราสาท ปลายหักฟาดลงพระปรัสซ้ายเป็นสองซ้ำลงซุ้มพระทวารแต่เฉพาะไหม้

พระโองการตรัสว่า เราได้ยกพระไตรปิฎก เทวาให้โอกาสแก่เรา ต่อเสียเมืองจึงเสียปราสาท ด้วยชะตาเมืองคอดกิ่วใน 7 ปี 7 เดือน เสร็จสิ้นพระเคราะห์เมือง จะถาวรลำดับกษัตริย์ถึง 150 ปี"

คนไทยทุกคนหรือส่วนมาก จะเคยได้ยินคำว่าดวงเมืองหรือดวงชะตาเมืองกันมาแต่อาจจะไม่เคยสนใจความสำคัญของดวงเมืองที่พูดกันนั้นว่า มันมีความสำคัญเพียงไร บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องความเพ้อฝันหรืองมงายไปก็ได้

แต่สำหรับผู้ปกครองประเทศของไทย เฉพาะพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตั้งแต่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ดวงชะตาเมื่อที่ว่านี้มาเป็นประโยชน์ในการบริหารและการปกครองประเทศไม่มากก็น้อย ทุกพระองค์ทรงใช้มาทั้งนั้น

ดวงชะตาเมืองที่ผูกขึ้นตามวันเวลาในวันนั้น ได้เป็นเครื่องมือชี้ทางให้พระองค์ดำเนินการปกครองบ้านเมืองมาตลอด

เฉพาะในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพร้อมด้วยสมณะชีพราหมณ์จำนวนมากร่วมชุมนุมวางฤกษ์ดวงเมืองและฝังเสาหลักเมืองนั้น พระองค์ได้ประสบการณ์สองประการก็คือในขณะที่พราหมณ์ปุโรหิต และสมณะชีพราหมณ์นั่งล้อมกันทั้งปะรำบริเวณที่จะฝังเสาหลักเมืองและขุดหลุมเอาผ้าปูก้นหลุมพร้อมด้วยสรรพเวทย์มหายันต์รองไว้อย่างเรียบร้อยเห็นกันอยู่ทุกตัวคน เมื่อเอาเสาหลักเมืองที่ทำด้วยไม้กัลปพฤกษ์ลงไปนั้น ก็ปรากฏว่างูเล็ก 4 ตัวลงไปนอนอยู่ และต้องฝังทั้งเป็นลงไป ทั้งพระองค์และผู้รู้ในสมัยนั้นเกิดความเป็นห่วงกังวลว่า อะไรจะเกิดขึ้นแก่บ้านเมืองต่อไปอีก หลังจากที่สงครามเก้าทัพของพม่าที่มาประชิดบ้านเมืองอยู่ ไม่ได้ถือว่าการลงไปนอนตายในหลุมหลักเมืองของงูทั้งสี่ตัวนั้น เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถือว่ามันเป็นอาถรรพณ์ที่บอกกล่าวว่าจะต้องมีเหตุการณ์ร้ายแก่บ้านเมืองแน่นอน!

หลังจากเรียกประชุมชีบานาสงฆ์และผู้รู้ขบคิดกัน ก็ไม่มีใครสามารถจะบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ไม่กี่วันก็เกิดฟ้าผ่าลงที่ยอดปราสาทพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยขึ้นมา ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทำนายออกมาได้ว่าบ้านเมืองในระยะนั้นจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นร้ายแรง แต่อีก 150 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯตามดวงชะตาเมืองมันก็จะเปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นอย่างอื่น ซึ่งพระองค์ทรงรับสั่งว่า "จะถาวรลำดับกษัตริย์ไปอีก 150" ซึ่งต่อมาเมื่อถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความแม่นยำและถูกต้องอย่างไม่น่าเชื่อ

ดวงชะตาเมืองที่ได้มีการฝังหลักเมืองในวันที่ 21 เมษายน 2325 เต็มไปด้วยบรรยากาศของอิทธิและอาถรรพณ์หลายประการ เฉพาะอย่างยิ่งที่คนโบราณเชื่อกันก็คือ ทั้ง 4 มุมเมืองนั้น ถูกฝังอาถรรพณ์สรรพเวทย์มหายันต์ไว้ทั้งสี่ทิศเพื่อป้องกันศัตรูและเสนียดจัญไร อันตราย และคนชั่วที่จะเข้ามาก่อกวนให้เกิดเป็นภัยต่อบ้านเมือง ไม่ว่าจะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ประการใด

ในสมัยก่อนนั้น คนโบราณทุกคนจะต้องมีคาถาอาคมและของขลังติดตัวกันทุกคน เฉพาะผู้เชี่ยวชาญในเวทมนตร์คาถาที่จะเสกเป่าหรือทำพิธีอะไรแสวงหาประโยชน์นั้น เชื่อกันว่ามีจริงๆ แต่คนเหล่านี้ถ้าเข้ามาในบริเวณกรุงเทพฯแล้ว ไม่ว่าจะมุมไหนใน 4 มุมนั้น เวทมนตร์คาถาที่ว่าขลังและมีอิทธิฤทธิ์ จะสูญสิ้นไปทันที

คำสาปแช่งและอาถรรพณ์นานาประการ ยังคงมีความสำคัญอยู่ และยังน่าจะเชื่อกันได้ต่อไปว่าอาถรรพณ์และความศักดิ์สิทธิ์ที่โบราณได้ปลุกเสกไว้ทั้งสี่มุมเมืองนั้น น่าจะยังมีความสำคัญอยู่แน่

เฉพาะอย่างยิ่ง คนชั่วที่มีชีวิตอยู่ด้วยความทุจริตคิดมิชอบต่อบ้านเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้แต่การคอรัปชั่นกินบ้านกินเมืองกันอย่างอึกทึกครึกโครมทุกวันนี้ ก็ไม่น่าจะสวัสดีมีชัยกันไปได้อย่างวัฒนาถาวรไปนานนัก เพราะเมื่อนำดวงดาวที่มีอยู่ในดวงชะตาเดิมเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2325 และดาวจรที่โคจรอย่างน่าดูอยู่ทุกวันนี้มาดูกัน

เมืองไทยน่าเที่ยว

เมืองไทยนับว่าเป้นที่น่าเที่ยวอีกประเทศหนึ่งที่มีนำตกสวยที่ชมวิวสุดแสนจะโรแมนติกเป็นอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ทำการพัฒนา ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ของอุทยานแห่งชาติต่างๆ ไว้เพื่อบริการนักท่องเที่ยวในหลายด้าน เช่น ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ถนนทางเดินเท้าสู่แหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพัก ห้องน้ำ ห้องสุขา และมาตรการคุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัยตลอดจนได้มีมาตรการการใช้บัตรค่าบริการเข้าไปในอุทยานแห่งชาติได้ทุกแห่งภายในวันเดียวกันโดยการชำระค่าบริการผ่านเข้าเพียงครั้งเดียว และมีอุทยานแห่งชาติที่มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ หลายแห่งที่กำลังพัฒนาปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบริการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน สำหรับแหล่งที่ได้รับการพัฒนาแล้วก็มีความจำเป็นต้องบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อความเหมาะสมจึงเห็นสมควรกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ

ข้อห้ามต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ห้ามก่อไฟ

เพื่อช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อม มิให้ถูกทำลายลงไปอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จึงห้ามมิให้นักท่องเที่ยวเก็บกิ่งไม้มาเพื่อทำการก่อไฟ หรือกระทำการอื่นใด ที่เสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำอาหารขึ้นไปประกอบและหุงต้มเอง ขอให้จัดเตรียมเตาแก๊สขึ้นไปด้วย และประกอบการหุงต้มภายในบริเวณที่จัดไว้ให้เท่านั้น

ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นเขา

นักท่องเที่ยวท่านใดนำสัตว์เลี้ยงมาด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของท่านซึ่งอาจจะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่สัตว์ป่า และทำร้ายนักท่องเที่ยว ขอให้นำสัตว์เลี้ยงหรือสุนัขของท่านไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจทางเข้าอุทยานฯ ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูกระดึงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ห้ามนำโฟมเข้าในเขตอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ห้ามมิให้นำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อเป็ฯการลดปริมาณมลพิษและขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งดำเนินการตามประกาศกรอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2546 เรื่อง ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ

ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบริเวณที่ระดับต่ำตามเชิงเขา มีสภาพโดยทั่วไปใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน สภาพอากาศทั่วไปบนยอดภูกระดึง แตกต่างจากสภาพอากาศในที่ราบต่ำเป็นอย่างมาก โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำฝนบนที่ต่ำ เนื่องจากอิทธิพลของเมฆ/หมอกที่ปกคลุมยอดภูกระดึงเป็นเนืองนิจ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 0-10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 21-24 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยระหว่าง 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยระหว่าง 23-30 องศาเซลเซียส อากาศบนยอดภูกระดึงมักจะแปรปรวน มีเมฆหมอก ลอยต่ำปกคลุมบ่อยครั้ง อากาศจึงค่อนข้างเย็นตลอดปี

ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้

ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม ของทุกปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สังคมพืชของภูกระดึงเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดป่าหนึ่ง มีทั้งป่าผลัดใบ และป่าดงดิบ ที่ระดับความสูงต่างๆ จำแนกออกได้เป็น

ป่าเต็งรัง พบบนที่ราบเชิงเขาและบนที่ลาดชันจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 600 เมตร ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เยง พลวง กราด รกฟ้า อ้อยช้าง กว้าว มะกอกเลื่อม มะค่าแต้ ช้างน้าว ติ้วขน ยอป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้าเพ็ก ขึ้นเป็นกอหนาแน่น แทรกด้วยไม้พุ่มและพืชล้มลุก

ป่าเบญจพรรณ พบตั้งแต่บนพื้นที่ราบเชิงเขาและที่ลาดชันตามไหล่เขารอบภูกระดึง จนถึงระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 950 เมตร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ แดง ประดู่ป่า กระบก ตะแบกเลือด ยมหิน มะกอก งิ้วป่า แสมสาร มะค่าโมง ตะคร้ำ สมอไทย สำโรง โมกมัน ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยหญ้าและกอไผ่ของไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่หลวง ไผ่ซางหม่น ไม้พุ่ม เช่น หนามคณฑา กะตังใบ สังกรณี ไผ่หวานบ้าน ฯลฯ ไม้เถา เช่น แก้วมือไว สายหยุด นมวัว ตีนตั่ง หนอนตายหยาก กลอย ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น บุกใหญ่ ผักปราบ แห้วกระต่าย ฯลฯ พืชกาฝากและอิงอาศัย เช่น ข้าวก่ำนกยูง ดอกดิน ชายผ้าสีดา เป็นต้น

ป่าดิบแล้ง พบตามฝั่งลำธารของหุบเขาที่ชุ่มชื้นทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตก ตั้งแต่เชิงเขาจนถึงระดับความสูงประมาณ 950 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้สำคัญได้แก่ ก่อ ตะเคียนทอง ยางแดง ยมหอม ตะแบกเปลือกบาง หว้า มะม่วงป่า สัตตบรรณ มะหาด คอแลน เชียด ฯลฯ พืชพื้นล่างแน่น เป็นพวกไม้พุ่ม ไม้เถา เช่น สร้อยอินทนิล กระทงลาย เถามวกขาว เล็บมือนาง กระไดลิง ฯลฯ พืชล้มลุก เช่น ข่าคม ก้ามกุ้ง ฯลฯ หวายและเฟินหลายชนิด

ป่าดิบเขา พบตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่วมแดง ทะโล้ สนสามพันปี พะอง จำปีป่า พญาไม้ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อหมู ส้านเขา รัก เหมือดคนดง เฉียงพร้านางแอ พะวา เดื่อหูกวาง ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วยไม้พุ่ม เช่น กุหลาบแดง มือพระนารายณ์ ฮอมคำ จ๊าฮ่อม ฯลฯ ตามหน้าผาริมขอบภูพบปาล์มต้นสูงขึ้นงๆ ได้แก่ ค้อดอย ไม้เถา เช่น กระจับเขา เครือเขาน้ำ แก้มขาว หนามไข่ปู ใบก้นปิด ย่านหูเสือ เป็นต้น

ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ พืชพื้นล่างประกอบด้วย สนทราย ส้มแปะ กุหลาบขาว เม้าแดง พวงตุ้มหู นางคำ ฯลฯ ตามลานหินมีพืชชั้นต่ำพวกไลเคน ประเภทแนบกับหินเป็นแผ่น และประเภทเป็นฟองเรียก ฟองหิน ปกคลุมทั่วไป นอกจากนี้จะพบเอื้องคำหิน ม้าวิ่ง และเขากวาง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่ออกเป็นกอหนาแน่น พืชล้มลุก เช่น ดาวเรืองภู ว่านคางคก ต่างหูขาว เนียมดอกธูป แววมยุรา หญ้าข้าวก่ำขาว โสภา เทียนภู เปราะภู ดอกหรีด ขนนกยูง หญ้าเหลี่ยม น้ำเต้าพระฤาษี กูดเกี๊ยะ เป็นต้น บนพื้นดินที่ชุ่มแฉะ มอสจำพวกข้าวตอกฤาษีหลายชนิดขึ้นทับถมแน่น คล้ายผืนพรม บางแห่งมีพืชล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดขึ้นปะปนกันแน่น เช่น กระดุมเงิน สาหร่ายข้าวเหนียว ดุสิตา และหญ้าข้าวก่ำ

ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็น เหยี่ยวรุ้ง นกเขาเปล้า นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกเค้ากู่ นกตะขาบทุ่ง นกโพระดกคอสีฟ้า นกตีทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกนางแอ่นสะโพกแดง นกเด้าดินสวน นกอุ้มบาตร์ นกขี้เถ้าใหญ่ นกกระทาทุ่ง นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนดง นกจาบดินอกลาย นกขมิ้นดง ตุ๊กแก จิ้งจกหางแบนเล็ก กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนบ้าน เต่าเหลือง งูทางมะพร้าว งูลายสอบ้าน งูจงอาง งูเก่า งูเขียวหางไหม้ อึ่งอี๊ดหลังลาย เขียดหนอง คางคก กบหูใหญ่ ปาดแคระ และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูลู หรือ “เต่าหาง” เป็นเต่าที่หางยาว อาศัยอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชา และ ลาว