เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายมีขนาดประมาณกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของรูปร่างคล้ายถั่วแดงอยู่ด้านหลังทั้ง 2 ข้างของลำตัว ในแนวระดับของกระดูกซี่โครงล่าง (หรือเอง หรือเหนือระดับสะดือ) มีหน้าที่หลักในการขัดกรองของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากเลือด และยังมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมสมดุลของเกลือแร่ และกรดด่างในร่างกาย หลั่งฮอร์โมนช่วยควบคุมความดันโลหิต หลั่งฮอร์โมน ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และสร้างวิตามิน ช่วยควบคุมการเจริญเติบโตหากไตไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เพียงพอ เนื่องจากได้รับบาเจ็บ หรือมีโรคแทรกจะทำให้ระดับของเสีย และปริมาณน้ำคั่งค้างในร่างกาย หรือในเลือด จะปรากฏอาการเหล่านี้ คือ ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ มีอาการบวมที่มือและเท้า ปวดหลังในระดับชายโครง ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย มีสาเหตุที่สำคัญมาจากเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ต้องรักษาโดยการล้างไต หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต หากรักษาโรคทั้งสองนี้ได้ก็จะทำให้โรคไตที่เกิดขึ้นทุเลา หรือชะลอการเปลี่ยนแปลงได้
การป้องกัน
การป้องกันมิให้เกิดโรคไตนั้นจะต้องมีการควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่ในระดับปกติ ด้วยการควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจใช้ยาร่วมในการควบคุม และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สม่ำเสมอ สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะไตวาย คือ โรคไตอักเสบ ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายของหน่วยกรองไต การเกิดโรคนี้บางรายไม่ทราบสาเหตุ บางรายถ่ายทอดทางพันธุกรรม และบางรายมีการติดเชื้อเป็นสาเหตุเสริม นอกจากนี้ยังมีโรคไตที่เกิดจานิ่ว โรคถุงน้ำในไต โรคติดเชื้อ สารเคมี เช่น ตะกั่ว ปรอทจากยา เช่น ยาแก้ปวด จากสารเสพติด เช่น เฮโรอีน เป็นต้น อาการของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียการทำงานไปประมาณร้อยละ 90-95 สามารถทราบได้โดยการตรวจเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม โลหิตจาง เหนื่อยง่าย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-1.htm
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น